จิตวิทยาการกีฬา

หลุมเล็ก หลุมใหญ่ กับการเพิ่มความสามารถในการเล่นกอล์ฟ

หลุมเล็ก หลุมใหญ่ กับการเพิ่มความสามารถในการเล่นกอล์ฟ

หลักการกำหนดเป้าหมายในการเล่นกีฬาหรือหลายๆกิจกรรม เป็นวิธีการที่มีเพื่อการสร้างแรงจูงใจ ในการที่จะเล่นให้บรรลุเป้าหมายหรือกิจกรรม เพราะเมื่อเรากำหนดเป้าหมายที่จะทำอะไรแล้ว เราจะไม่หยุดการเล่นหรือหยุดกิจกรรมนั้นจนกว่าจะบรรลุ

ในการเล่นกอล์ฟ มีการใช้หลักการนี้อยู่ตลอดเวลา ทุกหลุมกำหนดจำนวนครั้งไว้ชัดเจน 3 หรือ 4 หรือ 5 (Par) แต่การกำหนดนี้เป็นการกำหนดผลเป็นหลัก

การกำหนดเป้าหมายทำกันทั้งที่เป็นกำหนดผลและกำหนดที่เป็นวิธีการ นักกีฬาสามารถใช้หลักการดังกล่าวทั้งเพื่อจูงใจตัวเองและเพื่อสร้างความมุ่งมั่น ตั้งใจและควบคุมตัวเอง อย่างไรก็ตามถ้าจะให้การกำหนดเป้าหมายมีประสิทธิภาพให้มากขึ้น นักกีฬาสามารถควบคุมตัวเองและสนุกกับการเล่นกีฬาตลอดการแข่งขัน ที่จะนำไปสู่ผลการแข่งขันที่ดีควรจะเป็นอย่างไร

เรามารู้จักการกำหนดเป้าหมาย ที่มีผลของความสำเร็จที่มากกว่าการกำหนดเป้าหมายที่คุ้นเคยกัน วิธีการกำหนดเป้าหมายนี้จะทำให้กีฬากอล์ฟมีความสนุกและทำให้คนเล่นมีความชื่นชอบมากขึ้น สาเหตุเพราะความท้าทายทจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ในทุกครั้งที่ตี ตั้งแต่ T-off จนถึงการตีบนแฟร์เวย์ การชิฟลูกขึ้นกรีน และการพัตต์สิ้นสุดการเล่นในหลุมนั้น ขณะที่เป้าหมายเดิมๆที่เน้นผลการตีเป็นหลักมักจะกว้างหรือไม่ท้าทาย รวมทั้งควบคุมยากกว่า

ถ้าเป้าหมายของการเล่นกอล์ฟคือการตีหรือพัตต์ลูกให้ลงหลุมเป็นเป้าหมายสูงสุด ความรู้สึกของคนเล่นกอล์ฟจะไม่บรรลุเป้าหมายและรู้สึกดีเท่าที่เขาเล่นได้บรรลุเป้าหมายทุกครั้ง ความรู้สึกดีก็จะไม่มีในทุกครั้ง แล้วอะไรคือการที่จะทำให้นักกีฬาเล่นได้บรรลุเป้าหมายมากที่สุด และมีความรู้สึกดีๆในการเล่นกอล์ฟมากขึ้น คำตอบคือ นักกีฬาต้องมีเป้าหมายที่เกิดจากการจินตภาพขนาดของหลุมที่มีขนาดแตกต่างกันตามความเหมาะสมตามระยะของการเล่นในแต่ละครั้งที่ตี

การตีกอล์ฟในแต่ละครั้งมีระยะที่แตกต่างกัน ซึ่งก็หมายความว่ายิ่งระยะไกลเท่าไหร่การควบคุมทิศทางของลูกหรือให้ไปที่เป้าหมายยิ่งยาก ดังนั้นถ้าจะกำหนดเป้าหมายซึ่งคือหลุมในใจของนักกอล์ฟในการตีที่ระยะต่างกัน เป้าหมายที่กำหนดก็ควรจะเป็นหลุมที่มีขนาดที่แตกต่างกัน การ t-off ครั้งแรกในการเล่นแต่ละหลุม เป็นระยะที่ไกลที่สุด นักกีฬาตีแรงที่สุดแต่ก็ต้องแลกกับทิศทางหรือการควบคุมลูก ดังนั้นเป้าหมายของการตีครั้งแรกถ้าจะให้บรรลุและรู้สึกดีกับการตีคือเป้าหมายที่เป็นหลุมในใจที่มีขนาดใหญ่อย่างเหมาะสม ความว่าเหมาะสมคือ คงไม่ใช่ลงหลุมหรือกลางแฟเวย์เพียงเท่านั้น เพราะลงหลุมเลยมีโอกาสบรรลุน้อยมาก ขณะที่เป้าหมายกลางแฟเวย์ก็กว้างเกินไป นักกีฬาควรจะกำหนดเป้าหมายที่เป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่แต่มีขนาดเล็กกว่าความกล้างของแฟเวร์

การกำหนดเป้าหมายเป็นหลุมใหญ่ๆกลางแฟเวย์ดีกว่าแค่กำหนดกลางแฟเวย์ เพราะเป้าหมายมีความชัดเจน ท้าทายกว่าซึ่งจะนำไปสู่ความปราณีตในการเล่น และโอกาสที่จะรู้สึกดีกับผลมากขึ้น ดังนั้นหลุมแรกจากการ t-off จะใหญ่สุดในบรรดาหลุมในใจทั้งหมด

หลุมต่อไป ควรจะใหญ่แค่ไหนถึงจะพอดี เกิดความท้าทาย มีโอกาสทำได้ มีความปราณีตในการตี และรู้สึกดีที่เกิดจากบรรลุเป้าหมาย เช่น ถ้าเป็นหลุมพาร์ 4 หลุมที่ 2 ในใจ (เป้าหมายที่ 2) คงไม่ใหญ่เท่าหลุมแรก เพราะระยะสั้นกว่า เท่ากับขนาดหลุมในใจก็เล็กกว่า หลุมนี้น่าอาจจะมีขนาดเล็กว่ากรีน เช่น ขนาดครึ่งกรีน เหตุผลเหมือนเดิมคือเพื่อความท้าทาย ความปราณีต ที่ไม่ใช่หลุมขนาด 4 นิ้ว (หลุมจริง) เมื่อนักกีฬามองเห็นภาพหลุมขนาดครึ่งหนึ่งของกรีนในระยะ 100 หลาขึ้นไป โอกาสของการทำได้ ไม่กดดัน มีเปอเซ็นต์ตีตกในหลุมในจินตนาการมีมากขึ้น แน่นอนความรู้สึกที่ดี บรรลุเป้าหมายก็จะเกิดขึ้น นักกีฬาตีลงหลุมทั้ง 2 ครั้งที่ตี และเมื่อลูกอยู่ในหลุมบนกรีนที่เรากำหนด ครั้งต่อไปคือการพัตต์ที่นักกีฬาก็ยังสามารถใช้หลักการเดิมคือ หลุมในใจที่เรากำหนดใหญ่กว่าหลุมจริง เช่น อาจจะเห็นหลุมในใจขนาด 5 หรือ 6 นิ้ว (ขึ้นอยู่กับระยะ) หากการพัตต์แรกจะยังไม่ลงหลุมจริง แต่ถ้าตกอยู่ในหลุมตามจินตนาการจริง พัตต์ต่อไปคงไม่ใช่ปัญหา

ถ้าการตีหลุมนี้เป็นไปตามที่นักกีฬากำหนด เท่ากับนักกีฬาได้พาร์ในการเล่น บรรลุเป้าหมายทุกครั้ง (ลงหลุมใหญ่ในจินตนาการทุกครั้ง) รู้สึกดี ข้อดีของการกำหนดหลุมให้ชัดเจนนี้อีกประการคือความรู้สึกผ่อนคลายในระหว่างการเล่นด้วย

หลักการที่นำเสนอในครั้งนี้ ประยุกต์มาจากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้เกี่ยวกับขนาดของหลุมที่ใหญ่กว่าที่สรุปว่า นักกอล์ฟที่ผลการเล่นดีกว่ามองเห็นหลุมที่เล่นมีขนาดใหญ่กว่านักกีฬาที่มีผลการเล่นแย่กว่า (Witt, Linkenauger, Bakdash & Proffitt, 2008) ดังนั้นหากเราจะใช้การจินตภาพและการกำหนดเป้าหมายร่วมกันมาใช้เพิ่มศักยภาพในการเล่นกอล์ฟ ก็ลองการคิดถึงหลุมเล็ก หลุมใหญ่ในระหว่างการเล่นในทุกสโตรก เพราะเมื่อเราใช้หลักการนี้ความท้าทาย ความปราณีต ความสำเร็จ ความผ่อนคลายและความรู้สึกดีๆจะเพิ่มโอกาสของความสำเร็จมากขึ้นและมีความสุขในการเล่น

โชคดีมีความสุขและความสำเร็จในการเล่นกอล์ฟให้สนุกครับ

ผศ. ดร. นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
นายกสมาคมจิตวิทยาการกีฬาประยุกต์แห่งประเทศไทย