What Ever

พัทลุง-สงขลา-นครฯ ไปงานเหมือนได้เที่ยว…

พัทลุง-สงขลา-นครฯ ไปงานเหมือนได้เที่ยว…

เคยตั้งใจไว้หลายต่อหลายครั้งว่าอยากไปเที่ยวภาพใต้แบบไปเที่ยวจริงๆจัง ลัดเลาะตามหัวเมืองไปเรื่อย แต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้ทำตามอย่างที่ใจหวังสักเลยสักครั้ง ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่ต้องเดินทางไปพัทลุงอย่างด่วน มีเวลาเตรียมตัวไม่นานนัก โดยมีจุดมุ่งหมายคือภาระกิจที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

บอกตามตรงภาคใต้เป็นอะไรที่ไม่ค่อยคุ้นเคยเลยจริงๆ แม้จะมีเพื่อน พี่ น้อง เป็นคนใต้อยู่ก็ไม่ใช่น้อย ไปเที่ยวภาคใต้ครั้งแรกก็นั่งรถยนต์ไปกับครอบครับไปตนสุด อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส ข้ามไปมาเลเซีย สนุกมากๆบอกเลย แต่การเดินทางนี่ก็สุดๆเช่นกัน เพราะจากจังหวัดไปอีกจังหวัดนี่อย่างไกล

อีกครั้งที่ได้ไปนี่รถไฟไปเที่ยวกันตั้งแต่ ม.3 สมัยเป็นนักเรียนอยู่ที่สุรศักดิ์มนตรี เพื่อนเป็นคนสุราษฯ บอกไปเที่ยวกันอ่ะเราก็ไป กระเป๋าใบเดียวนั่งรถไฟไปจุดหมายปลายทางชุมพร ครั้งนี้สนุกมากเที่ยวแบบเด็กวัยรุ่น กระเป๋าใบเดียวไปถึงไหนถึงกัน นอกจากนั้นก็มีไปทำงานไปตามเพลนที่กำหนดไว้ แวะเที่บ้างไรบ้างแต่ก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร

ครั้งนี้ก็ยังคงเหมือนเดิมคือไปด้วยภารกิจเป็นสำคัญ ไม่ได้ค้นกว่าอะไรมากมายนัก การท่องเที่ยวจึงไม่ลึกซึ้งแบบต้องไปให้ถึงดั้นด้นตะลุยไป เพราะอันดับแรกเลยคือไปกับครอบครัว มีทั้งผู้สูงวัย กับเด็กไปด้วย จึงออกแนวไปวัดไปตลาด เที่ยวกินประมาณนึง

วันเดินทางเราออกกันแต่เช้าโดยขึ้นเครื่องบินจากกรุงเทพไปลงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เช่ารถหนึ่งคันเพื่อเป็นพาหนะนการพาเราไปยังจุดต่างๆ โดยจุดแรกเลยที่ต้องยอมรับว่าเป็นกระแสที่แรงจนไม่อาจทัดทานได้ที่แรกที่ไปจึงเป็นวัดเจดีย์ ที่อำเภอสิชล

เป็นครั้งแรกที่ได้มาวัดเจดีย์แห่งนี้ ขอบอกเลยว่าใครมีโอกาสได้ผ่านหรือมีเวลาอยากให้แวะมาสักการะที่วัดแห่งนี้ เพราะเป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาสวยงาม มีประวัติยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผู้มานมัสการและขอพรจากหลวงปู่ทวด และ “ไอ้ไข่” เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยไอ้ไข่นั้นมีเรื่องเล่าต่างๆมากมายหลายที่มา ในส่วนที่หยิบยกมาก็คือเป็นเด็กซึ่งอาศัยอยู่ที่วัดเป็นเด็กวัดเจดีย์ คอยช่วยเหลือเรื่องการงานต่างๆไม่ขาดตกบกพร่อง แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นเด็กที่ซุกซน เกเร แต่ก็เป็นที่รักของทุกคนด้วยเป็นเด็กที่จริงจังทั้งวาจา และจิตใจ รับปากใครแล้วเป็นต้องทำให้ได้ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ออกจากวัดเจดีย์แล้ว ไปตามท้องเรียกร้อง น้องสาวพอได้เดินทางอยู่บ้างบอกมุ่งหน้าเลยจ้า ร้านโกปี๊ ใกล้สุดก็เป็นสาขาคิวคูตอน นครโบราณ เป็นตำนานร้านกาแฟแห่งเมืองคอนที่เปิดมายาวนานกว่า 70 ปี ถ้าไม่ดีจริงคงไม่เปิดมานานขนาดนี้ นอกจากกาแฟก็ยังมีเมนูอื่นๆอีกมากมายทั้งบั๊กกุ๊ดเต๋ ข้าวหมูอบ ขาหมุ ซาลาเปา ติ่มซำ สั่งกันแทบครบทุกอย่าง ที่มาในขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่เกินไป ชิมไปทานไปทุกคนบอกโอเคสมแล้วที่หิ้วทองมาจากวัดเจดีย์ น่าจะสัก 50-60 กิโล บรรยากาศร้านก็ดีมากการตกแต่งร้านเป็นสไตล์ตึกโบราณการตกแต่งจำลองบรรยากาศสมัยก่อนได้อย่างดีและมีภาพสตรีทอาร์ทสวยๆไว้ให้ถ่ายรูปเล่นกันด้วย

จากนั้นเรามุ่งหน้ากันต่อไปอีกร้อยกว่าโลไปอำเภอควนขนุนที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่มาทำธุระในครั้งนี้ เราพักอยู่ที่พัทลุง 2 คืนด้วยกัน โดยคืนแรกเราแวะไปพักกันที่ ศรีปากประ บูทีค รีสอร์ท ตั้งอยู่ที่บ้านปากประ พัทลุง เป็นแหล่งชุมนุมของปลาและเป็นแหล่งจับปลาที่สำคัญ ชาวบ้านจะตั้งยอดักจับปลาเป็นจำนวนมากจนดูยุ่งเหยิง แต่กลับเป็นทิวทัศน์ที่แปลกตามาก เห็นวิถีชีวิตการยกยอยักษ์และดักจับสัตว์น้ำซึ่งหาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน

ที่นี่ต้องจัดคิวตื่นแต่เช้าเพื่อดูทิวทัศน์พระอาทิตย์ขึ้นกับยอยักษ์ที่บ้านปากประ เรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของนักถ่ายภาพเลยก็ว่าได้ แต่เราต้องจองเรือไว้ล่วงหน้าเพื่อจะพาเราออกไปชมบรรยากาศในตอนเช้าและถ่ายรูปตอนพระอาทิตย์ขึ้น แต่วันที่เราไปโอกาสไม่ดีเลย เพราะมีพายุฝนตกลงมาตั้งแต่ช่วงกลางคืน ทำให้โปรแกรมนั่งเรือชมวิวยอยามต้องแสงอาทิตย์ยามเช้าต้องเป็นอันถูกยกเลิกไป ได้ดูเพียงยอและเม็ดฝนตรงระเบียงห้องพักแทน

พูดเรื่องของที่พักแล้วก็ต่อเนื่องไปเลยแล้วกันครับ อีกคืนที่พัทลุง เราย้ายไปนอนกันที่ กระจูดวรรณี โฮมสเตย์ อ่ะๆอย่าเพิ่งงงครับ กระจูดเป็นพืชตระกูลเดียวกับกก มีในไม่กี่จังหวัดในภาคใต้เท่านั้น ชาวบ้านทางใต้นิยมนำมาสานเป็นของใช้ในครัวเรือนทั้งเสื่อ ตะกร้า สมัยก่อนการจักสานมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนัก เพราะถือว่าเป็นอาชีพสำหรับคนที่ไม่มีงาน ไม่มีสวนยาง ไม่มีรายได้ ทำจักสานเป็นของใช้ต่างๆมากมาย โดยมีการพัฒนารู้แบบที่ทันสมัยมากขึ้นจนได้รับความนิยมจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก

วรรณี โฮมสเตย์ เป็นเหมือนศูนย์กลางของชาวบ้าน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มีที่พักในราคาไม่แพง นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชม และเรียนรู้การทอกระจูดได้จากชาวบ้านที่มาทำการสานกระจูดอยู่ที่นี่ทุกวัน แถมผู้เข้าพักก็จะได้ผลงานกระจูดฝีมือชาวบ้านติดมือกลับบ้านฟรีๆอีกด้วย หรือใครชื่นชอบจะซื้อจะหาก็มีร้านค้าตกแต่งสวยงามไว้ให้เลือกซื้อได้อย่างสะดวกสบาย

จากสองคืนที่มาพักพิงเมืองพัทลุง ในภาคกลางวันยังมีที่ท่องเที่ยวอีกหลายที่ ทั้งอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนั้นก็เป็นตลาดวิถีชาวบ้านต่างๆที่มีไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ซึมซับบรรยากาศของชาวพัทลุง ทั้งในเรื่องศิลปวัฒนธรรม และเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งที่ไปที่มีทั้ง หลาดใต้โหนด ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าบริเวณตลาดนั้นอยู่ใต้ต้นตาลโตนด จุดเด่นคืออาหารพื้นบ้านพื้นเมือง ไม่ใช้โฟม ไม่ใช้พลาสติก

อีกตลาดที่อยู่ไม่ไกลกันมากนักคือ ตลาดไผ่สร้างสุข จุดเด่นของที่นี่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าตลาดไผ่สร้างสุข ทั้งตลาดเต็มไปด้วยต้นไผ่ให้ความร่มรื่น ร้านค้าก็ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมชาติ ขายสินค้าพื้นบ้านเป็นสวนใหญ่ พื้นที่ของที่นี่แทบไม่มีหลังคาเลยเพราะมีไผ่รมรืนไปทั้งตลาด นอกเหนือจากของกินของฝากที่ให้เลือกหากันแล้ว การแสดงทางวัฒนธรรมของนักเรียนก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เรียกว่าผลัดเปลี่ยนกันมาแสดงให้ผู้มาเยือนได้ชมกันเกือบทั้งวัน

อีกหนึ่งสถานที่เที่ยวเชิงอนุรักษ์ นั่นคือ ‘นาโปแก’ นาโปแกตั้งอยู่ในอำเภอควนขนุน บนถนนเส้นเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาตินกน้ำทะเลน้อย คำว่านาโปแก เป็นภาษาพื้นบ้านท้องถิ่น นาก็คือ นาข้าว ส่วนคำว่า “โปแก” เป็นสำเนียงปักษ์ใต้ หมายถึง พ่อของแม่ พ่อแก่ พ่อเฒ่า หรือคุณตา เมื่อรวมความหมายที่เข้าใจได้ ก็แปลว่า ที่นาของคุณตา นั่นเอง

ภายในพื้นที่มีแปลงปลูกข้าวสาธิต ที่เต็มไปด้วยข้าวพันธุ์พื้นเมืองต่างๆ เช่น ข้าวสังข์หยด  ข้าวซ้อมมือโบราณ ฯลฯ ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรกรไทย ที่นักท่องเที่ยวจะได้ลงแรงทำตั้งแต่การเกี่ยวข้าว ไถนา ดำนา เลี้ยงควาย ขุดบ่อปลา ซึ่งหลังจากชมเสร็จแล้วก็มีข้าวพันธุ์ต่างๆที่ปลูกที่นี่วางขายให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

จากนั้นเรามุ่งหน้าสู่สงขลาเป็นจุดหมายต่อไป โดยเลือกที่จะนำรถข้ามแพขนานยนต์ระหว่างฝั่งอำเภอเมือง-ฝั่งหัวเขาแดง  อำเภอสิงหนคร แทนที่การขับรถข้ามสนะพานติณสูลานนท์ เพื่อไปยังแลนด์มาร์กของจังหวัดสงขลา นั้นก็คือแหลมสิมิหลา เพื่อแวะไปถ่ายรูปกับนางเงือก ก่อนไปต่อยังย่านเมืองเก่าสงขลา เพื่อชมสถาปัตยกรรมที่งดงามที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้  โดยมีทั้งร้านอาหารดั้งเดิม ผสมกับร้านอาหารฟิวชั่น  แถมมีการเพิ่มสีสันด้วยภาพวาดสตรีทอาร์ท สุดน่ารักตามผนังอาคารบ้านเรือนต่างๆ ที่สะท้อนเรื่องราววิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนสงขลา ทำให้การเดินเที่ยวชมย่านเมืองเก่าสงขลาไม่ได้เพียงแต่จะได้ชมความงามของตึกโบราณเหล่านี้ แต่ยังได้สนุกสนานไปกับการถ่ายภาพโพสต์ท่ากับภาพวาดต่างๆด้วย เสียดายเวลาน้อยไปนิด เพราะต้องไปต่อหาดใหญ่แล้วครับ

หาดใหญ่ เมืองศูนย์กลางด้านการค้าและธุรกิจของภาคใต้ เรื่องอาหารการกินไม่ต้องเป็นห่วงมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมมากๆ เอาเป็นว่ามาหาดใหญ่เรื่องกินดูกันได้เลยตามสะดวกแต่อยากฝากที่เที่ยวไว้สักสองที่ครับ ที่แรกคือสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ริมถนนกาญจนวนิช เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ซึ่งมาที่นี่ก็จะได้เที่ยวกระเช้าลอยฟ้าหาดใหญ่ เป็นเส้นทางสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขาคอหงส์จากพระพุทธมงคลมหาราชคือสถานีที่ 1 ไปยังท้าวมหาพรหม สถานีที่ 2 เบื้องหน้าคือเจ้าแม่กวนอิม ระหว่างทางจะได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามจากยอดเขามองลงสู่เบื้องล่าง เห็นเมืองหาดใหญ่และทะเลสาบสงขลา  ภายในสถานีกระเช้าลอยฟ้ายังสัมผัสได้ถึงความโปร่งสบายทันสมัย และสามารถชมทัศนียภาพ ของเมืองหาดใหญ่ได้โดยรอบ

อีกที่ก็เป็น มัสยิดกลางดิย์นุลอิสลาม หรือเรียกสั้นๆว่า มัสยิดกลางสงขลา  เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดสงขลา ต้องบอกว่าที่นี่เป็นมัสยิดที่ใหญ่และสวยงาม ภายในตกแต่งได้สวยงาม มัสยิดกลางแห่งนี้โดดเด่นจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่อยู่บนภูเขาในสวนสาธารณะหาดใหญ่ที่เราเพิ่งไปมาก่อนหน้านี้ หากใครได้มาจังหวัดสงขลาแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะมาชมความงดงามของมัสยิดกลางแห่งนี้ จนได้รับการขนานนามว่า “ทัชมาฮาลเมืองไทย” ยิ่งมาในช่วงเวลาเย็นค่ำมัสยิดเปิดไฟสว่างมีฉากหลังของท้องฟ้าเปลี่ยนสีในยามเย็นงดงามมากๆ

เที่ยวเสร็จสองที่ของเมืองหาดใหญ่ แวะมาซื้อของที่ตลาดกิมหยง อยากฝากอีกร้านแวะมาทานหลังซื้อของเสร็จ ร้านนี้ไม่ไกลจากตลาดกิมหยงครับ เดินมาได้ หรือจะจอดรถแถวร้านแล้วเดินไปตลาดกิมหยงก็ได้ไม่ว่ากัน ร้านนี้ชื่อร้านในรู เป็นร้านอาหารจีน อยู่ใน ซอย นิพัทธ์อุทิศ 3 ซอย 1 หาดใหญ่ รสดีราคาไม่แพง ดูใน Pantip ได้ครับผม FC เพียบ ฉบับนี้ลาไปเพียงเท่านี้ครับผม พบพันอีกเมื่อมีโอกาสครับ…