ปลากัดยอดนักสู้
เรื่องของปลากัดที่อยากจะพูดถึงอีกรอบคือ ปลากัดสาย “มหาชัย” ปลากัดสายนี้จะเป็นปลาที่มีสีตั้งแต่สีน้ำเงินแดง, เขียวแดง หรืออาจจะเป็นสีเดียวโดดๆ แน่นอนที่เคยพบเจอมาก็แถบๆริมข้างทางสาย “ธนบุรี-ปากท่อ” ซึ่งอดีตก็เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงสภาพน้ำก็จะลักจืดลักเค็ม ต้นหญ้าที่มักจะมีอยู่อย่างอุดมก็เป็นหญ้า “ตะกาด” สลับกับ “ต้นเป้ง” หรือ “ต้นปรง” ลักษณะทางภูมิศาสตร์เช่นนี้ คงจะเทียบได้กับแถว “แปดริ้ว” นี่คือสภาพทางพื้นที่ซึ่งสามาถสร้างปลาที่มีชื่อเสียงในการต่อสู้ได้เป็นอย่างที่รู้จักกันดี อย่างที่บอกสภาพน้ำที่กล่าวมาบวกกับเรื่องของ “อาหาร”ทางธรรมชาติซึ่งก็คงหมายถึง “ลูกน้ำ”ที่มีอยู่ในช่วงที่ในลงใหม่ๆ
ครูไก่เคยไปช้อนปลากัดแถบนี้มาเลี้ยงอยู่บ่อยๆ แล้วก็ไม่ทำมห้เราผิดหวังนั่นคือ จากปลาตัวเล็กๆซึ่งเมื่อโตขึ้นนอกจากจะมีความสวยงามตามสายพันธุ์ของเขาแล้ว ในเชิงการต่อสู้เจ้าพวกนี้ คม, ไว เลือกกัดที่เป็นจุดอ่อนได้เก่งมาก แต่ในความเก่งกาจที่ว่าเนี่ยก็แฝงไว้ด้วยจุดด้อยคือ “ปลาเหล่านี้มักมีตัวเล็ก” เมื่อเทียบกับปลาสาย “แปดริ้ว” แต่ก็อย่างว่าหากเป็นเรื่องของการพนันแล้วอะไรที่จะสร้างความได้เปรียบหากทำได้เป็นต้องทำทันที

ว่ากันว่า “หากปลาลงสังเวียนแล้วห้ามเอาขึ้นเด็ดขาด”กติดารี้เป็นเรื่องที่เขารู้ๆกันดีว่า “เซียนปลาท่านใดที่เมื่อเอาปลาเทียบกันแล้วเห็นว่าได้คู่ที่เหมาะสมก็เทลงสังเวียนได้เลย” ตอนนี้แหละที่อยากจะนำมาเล่าสู่กันฟัง…ปลากัดที่เอาเข้าไปนากบ้านเพื่อเข้าบ่อนโดยมากมักจะค้องใส่ขวด “แม่โขงแบน”ไปแทบทั้งนั้น เพราะเจ้าขวดแม่โขงรุ่นนี้เนื้อของแก้วที่ทำขวดจะเป็น “เลนส์เว้า” ดังนั้นปลาที่อยู่ในขวดจะดูเล็กกว่าปกติเมื่อเทียบกับการมองด้วยขวดปกติ แต่เมื่อตกลงปลงใจที่จะสู้กันก็จัดการเทลงสังเวียน หากเกิดการได้เปรียบกันขึ้นจะไม่มีการยกเลิกการต่อสู้เด็ดขาด ถ้าจะเอาปลาออกจากสังเวียนก็ถือว่า “แพ้”ทันที
จากการที่เคยเอาปลาชุดนึงมาเลี้ยงในบ่อดินจนมีขนาดที่พอจะออกสังเวียนได้ต้องเอาปลามาทำกรรมวิธีการ “หมักปลา”ดูเชิงการกัดและบำรุงอาหารที่จำเป็นราว 3-4 อาทิตย์ เมื่อปลามีความพร้อมก็จะพอสังเกตุได้นั่นคือ ปลาจะหาวบ่อยมาก การเคลื่อนไหวจะช้าๆ เกล็ดจะเรียงตัวเป็นมันวาว แล้วที่สำคัญ “หวอดต้องใหญ่และสูง”กว่าพื้นน้ำโขอยู่ ส่วนการฝึกก็มีทั้งใส่โหลกวนน้ำให้ปลาว่ายทวนน้ำ ปล่อยปลาที่เป็นปลาลูกไล่ลงไปให้เจ้าตัวเก่งไล่ อาหารก็ลูกน้ำวันละไม่เกิน 5 ตัว เพราะถ้ามากกว่านั้นปลากัดจะอ้วนไม่รวดเร็วในการลงสังเวียน…จากที่เคยทำปลากัดมาราว 3-4 ปี แล้วส่งปลาไปกัดที่ “อยุธยา” รอบนึงก็ราวๆ 10 ตัว ปลาของผมแทบจะปิดประตูแพ้ก็ว่าได้ หากปลาไม่ป่วยเจ็บก็แพ้ยากมาก…ศาสตร์เช่นที่ว่านั้นมาจากท่าน พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน ร.น. สมัยเมื่อครั้งท่านติด “ระหุ” สมัยนึง เมื่อผมเป็นเด็กรับใช้ท่าน “ศาสตร์”ที่ว่าจึงตกมาอยู่กับผมแบบเต็มๆ
ครูไก่