ส.กอล์ฟอาชีพ มอบบัตรต้อนรับ 51โปรใหม่ ทำแอพฯ สื่อกลางเรียนกอล์ฟคุณภาพสูงในราคายุติธรรม
ส.กอล์ฟอาชีพ มอบบัตรต้อนรับ51โปรใหม่, ทำแอพฯ สื่อกลางเรียนกอล์ฟคุณภาพสูงในราคายุติธรรม
สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย เปิดอบรมหลักสูตรความรู้ชุดใหม่ พร้อม เซ็นสัญญาทำ แอพพลิเคชั่น “สื่อกลางสอนกอล์ฟ” ให้โปรและผู้เรียนได้ใช้ติดต่อเลือกเรียนกอล์ฟกับโปรที่มีความรู้ทันสมัย ภายใต้การรับรอง จากสมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพฯเลือกโปรได้ทั่วประเทศ ราคาค่าเรียนเหมาะสม พร้อมป้องกันปัญหาเรื่องตัดราคา, โก่งราคา แถมผนวกให้เป็นช่องทางในการประสานงานเพื่อพัฒนาวงการสอนกอล์ฟในไทยให้เติบโตยิ่งขึ้น ด้านหลักสูตรโปรกอล์ฟใหม่เพิ่มความหลากหลายให้ประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งสอนกอล์ฟ, เปิดร้านโปรช็อป จนถึงบริหารสนามกอล์ฟ เพื่อให้โปรรุ่นใหม่ ยกระดับไทยเป็นผู้นำของกีฬากอล์ฟในอนาคต
สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย จัดพิธีมอบประกาศณีบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรม หลักสูตร Thailand PGA-Q School ขั้นต้น ณ ห้องประชุม สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 พร้อมทำพิธีลงนามจการจัดทำ แอพพลิเคชั่น “สื่อกลางการสอนกอล์ฟ” โดยมี นายเมธี สุทัศน์ ณ อยุทธยา นายกสมาคมฯ เป็นประธานในพิธี
การมอบประกาศณีบัตรแก่สมาชิกใหม่มีทั้งสิ้น 52 คน แบ่งเป็น Golf Instructure (ผู้ฝึกสอน) หรือ ทีชชิ่งโปร 38 คน และ Touring Pro หรือ นักกีฬาที่จะแข่งขันอีก 3 คน และโปรที่สอบผ่านจากปี 2066 อีก 11 คน ก่อนหน้านี้ทั้งหมดได้ผ่านการอบรมหลักสูตรชุดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับกีฬากอล์ฟ อาที วิชากายวิภาคในกีฬากอล์ฟ, วิชาการปรับแต่งอุปกรณ์กอล์ฟ, การสอนกอล์ฟสำหรับเด็กและบุคคลทั่วไป, จิตวิทยา, โภชนาการ, ฟิตเนสต์และการออกกำลังในกีฬากอล์ฟ, ระหว่างวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์
นายกเอ็กซ์ โปรเมธี สุทัศน์ ณ อยุธยา กล่าวว่า หลักสูตรความรู้ในปีนี้ได้เพิ่มความรู้ใหม่เข้าไปหลายเรื่อง โดยมีโปรป้อมเพชร สารพุทธิ ประธานโครงการอบรมความรู้ ได้นำความรู้ใหม่ ที่ใช้อยู่ทั่วโลกมาปรับให้เหมาะสม และบรรจุเพิ่มไว้ในหลักสูตรที่ด้วย อาทิ การบริหารงานสนามกอล์ฟและสนามซ้อม, เทคโนโลยีและอุปกรณ์กอล์ฟสมัยใหม่, การโค้ชและการทำแผนพัฒนาสำหรับนักกีฬา, ฯลฯ ซึ่ง สมาชิกใหม่ที่ผ่านการอบรมแล้ว จะสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ สมาคมฯ ได้มอบ บัตรโปร เป็นการรับรองฐานะความรู้จากการอบรมแล้ว
“สมาคมมีนโยบายและสนับสนุนสมาชิกกลุ่ม Golf Instructure ให้มากขึ้นเนื่องจากเป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานกีฬากอล์ฟไปสู่อนาคต เช่นยื่นเรื่องต่อหน่วยงานรัฐเพื่อให้การรับรองฐานะความเป็นอาชีพพิเศษ อำนวยสะดวกในการใช้ขอวีซ่าเพื่อการสอนกอล์ฟในต่างประเทศ, ขอให้มีการรับรองและกำหนดฐานรายได้ขั้นต่ำให้สมศักดิ์ศรีและความสามารถในฐานะผู้สอนกอล์ฟฯลฯ สมาคมยังเตรียมหลักสูตรความรู้ที่เฉพาะทางยิ่งขึ้นให้อบอรมต่อยอดความรู้เพิ่มขึ้นไป เช่น ความรู้ที่ด้านกับฟิซิกส์และกลศาสตร์ชีวะภาพในกีฬากอล์ฟ หรือ ความรู้เรื่องเพื่อเป็นตัวแทนนักกอล์ฟหรือ ผู้ควบคุมและจัดการแข่งขันกอล์ฟ, ซึ่งเมื่อผ่านแล้ว การรับรองจะแสดงผ่านบัตรสมาชิก (บัตรโปร) ซึ่งเปลี่ยนสีไปตามระดับ ซึ่งจะทำให้มีรายได้หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มตามความสามารถที่เพิ่มขึ้น
ช่วงบ่าย นายกสมาคม นายเมธี สุทัศน์ ณ อยุธยา ทำพิธีลงนามจัดทำ แอพพลิเคชั่น สื่อกลางการสอนกอล์ฟ เพื่อรองรับการเติบโตของกอล์ฟผ่านช่องทาง Online มากขึ้น โดยมี ดร.อาภาภรณ์ จงวิริยะเจริญชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัท เอ็ม เจ อาร์ ซอฟต์แวร์ จำกัด เป็นตัวแทนลงนาม มีกรรมการและเลขาธิการมูลนิธีกีฬากอล์ฟไทย คุณเรวดี ต.สุวรรณ ร่วมเป็นเกียรติ แอพฯ ดังกล่าว จะเป็นเสมือนพื้นที่สื่อกลางที่มีข้อมูลของทิชชิ่งโปร ทั่วประเทศ ทั้งที่สังกัดกับสถาบันสอนกอล์ฟ และ ผู้สอนอิสระ โดยจำแนกความสามารถเฉพาะทางอย่างชัดเจน เช่น ระดับความรู้ในการสอนของโปร, ความถนัดเรื่องการสอนเด็ก, หรือสอนเฉพาะนักกีฬาอาชีพ, ซึ่งผู้เรียนจะเลือกได้ตามความต้องการ โดยที่สมาคมจะมีราคากลางที่เหมาะสมเพื่อให้สองฝ่ายได้เจรจากัน ซึ่งการจัดทำแอพฯ ดังกล่าวนอกจากจะป้องกันปัญหาเรื่องตัดราคาในอนาคตแล้ว ยังสามารถเป็นสื่อกลางที่ผู้เรียนจะสะท้อนผลการเรียนการสอนตามความจริง ตลอดจนพฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆมายังสมาคมฯ เพื่อให้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมหรือพัฒนาต่อไปในอนาคต
“นับจากวันนี้ การออกแบบจัดทำแอพลิเคชั่นดังกล่าวก็จะเริ่มขึ้น และคาดว่าจะสามารถใช้งานได้จริงในช่วงกลางปี 2567 ขอให้สมาชิกผู้สนใจอาชีพ สอนกอล์ฟ ทั้งผู้ที่มาจาก Touring Pro หรือ Golf Instructure ทุกประเภท ติดตามแผนการพัฒนาความรู้ในอาชีพกอล์ฟแต่ละสาขา แล้วเข้ามาอยู่ในชุมชนพัฒนากีฬากอล์ฟนี้ด้วยกัน”
“ในอดีต การจะเป็นโปรสอนกอล์ฟ มีตัววัดคือสกอร์เพียงอย่างเดียว ต่อไปนี้ตัววัดด้านการพัฒนาตนเอง หลักสูตรการสอนกอล์ฟ ที่ออกแบบขึ้นมาจะเป็นตัววัดที่สำคัญ จากสอบภาคสนามได้แล้วได้เลย เปลี่ยนเป็น สอบภาคสนามแล้วยังต้องเรียนต่อ พัฒนาตนเองต่อ แสดงตัวตนอย่างเปิดเผยในแอพลิเคชั่น ผู้ที่พัฒนาจะเพิ่มความรู้ เพิ่มภาพลักษณ์ตนเอง ผู้ไม่พัฒนาจะแข่งขันยาก ผู้พัฒนาตนเองมาแล้วอย่างดีทั้งในอดีตและอนาคต ทุกคนจะอยู่ในแอพลิเคชั่นนี้ อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ผู้ที่จะได้กำไรที่สุดคือคนรุ่นใหม่ที่สนใจเรียนกอล์ฟ”
นายกสมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพ กล่าวตอนท้ายว่า “สมาคมฯ มีเป้าหมายในการพัฒนากีฬากอล์ฟไปสู่อนาคต ขณะนี้เรายังขาดบุคลลากรด้านต่างๆที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย สมาคมฯจึงเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนให้เพียงพอ โดยสามารถควบคุมคุณภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน การอบรมความรู้ด้วยหลักสูตรใหม่และการจัดทำแอพพลิเคชั่นสื่อกลางสอนกอล์ฟ ในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่โปรผู้สอนและประชาชนผู้เรียน และจะเป็นช่องทางสำหรับอนาคตที่ก้าวไปสู่การสื่อสารบนโลก Online มากขึ้นด้วย สมาคมขอเชิญโปรทุกท่านมาร่วมกันขยายขนาดวงการกอล์ฟไทยสู่คำว่า “อุตสาหกรรมกีฬากอล์ฟ” ร่วมกันครับ”