คอลัมน์ในอดีต

อยากไป Fitting ไม้กอล์ฟ ทำยังไงและเลือกร้าน ยังไงดีน้า

อยากไป Fitting ไม้กอล์ฟ ทำยังไงและเลือกร้าน ยังไงดีน้า

“ในสมัยนี้พูดถึงการ Fitting ไม้กอล์ฟถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแล้วนะคะ ด้วยเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แล้วร้านFitting เดี๋ยวนี้มีเยอะแยะมากมาย บางทีก็ทำให้เราเลือกไม่ถูก วันนี้เราสองคนมีหลักง่ายๆในการเตรียมตัวไปและการเลือกร้าน Fitting มาฝาก”

“แล้วคนที่พร้อมจะไปฟิตติ้งคือใครล่ะอมล ถ้าสมมติคุลิเพิ่งเล่นกอล์ฟมาได้แค่3 เดือน Handicap 24 เค้าอยากไปฟิตติ้งได้รึยัง ?”

“ไปได้นะ แต่ว่าก็จะฟิตได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น อย่างเช่น ทำความยาวให้เหมาะสมกับความสูง เปลี่ยนกริพให้เหมาะกับขนาดของมือ ก็จะได้ประมาณนี้ แต่ถ้าพวกที่อยากจะฟิตแบบจริงจัง อย่างเช่น เปลี่ยนก้านให้เหมาะสม หรือ ดัด Lie Angle หรือ ปรับ loft ของไม้ก็จะต้องเป็นคนที่ มีวงสวิ่งที่ค่อนข้างเสถียรแล้ว หมายถึง มีความแม่นยำในการตีลูก ให้โดนบริเวณกลางหน้าไม้ และมีวิถีลูกที่ค่อนข้างแน่นอนเป็นของตัวเอง เช่น เป็นคนตีเฟด หรือตีดรอว์ ตีต่ำ หรือตีโด่ง เป็นส่วนใหญ่”

“อ้ออ เข้าใจละ ถ้าเรายังไม่สามารถตีลูกให้โดนกลางหน้าไม่ได้บ่อยๆหรือยังไม่มีวิถีลูกที่แน่นอน การฟิตติ้งแบบระดับสูงก็จะยังไม่สามารถช่วยอะไรใด้มากเท่าที่ควรใช่มั้ยย แต่ถ้าใครพร้อมแล้ว ก็ลุยกันเลย”

“คุลิ งั้นเรามาเรื่องของร้านกันเลยนะ ขอเริ่ม ข้อแรกเลย ควรเลือกร้านที่มีตัวเลือกให้เราเยอะๆ คือมียี่ห้อหลากหลายให้เราได้ทดลองค่ะ จะมีบางร้านที่ผูกขาดกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง ก็จะทำให้ความหลากหลายของก้านหรืออุปกรณ์จะน้อยกว่าร้านที่ขายหลายๆยี่ห้อ แต่ถ้าท่านนักกอล์ฟได้มีโอกาสลองหลายแบบแล้วมียี่ห้อหรือสเปคในใจอยู่แล้วก็สามารถไปร้านที่ขายเฉพาะยี่ห้อนั้นๆได้ค่ะ”

“ข้อสองนะคะ ควรเลือกร้านที่มีพวก เทคโนโลยีในการช่วยฟิต อย่างเช่นพวกเครื่อง Launch Monitor ต่างๆ แบรนด์หลักๆที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในทัวร์ก็จะมี Trackman และ Flight Scope พวกเครื่องเหล่านี้จะสามารถอ่านค่าสำคัญๆต่างๆ เช่น ความเร็วหัวไม้, ความเร็วลูกกอล์ฟ, ระยะลูกตก ,ระยะลูกวิ่ง, Spin rate, smash factor, และอีกหลายๆค่าที่จำเป็นของวงสวิง
ถ้าร้านไหนที่เราไปแล้วมีอุปกรณ์พวกนี้ประกอบการฟิตติ้งถือว่าผ่านและได้มาตรฐานคะ”

“บางทีความรู้สึกเราต่อไม้กอล์ฟอาจจะไม่ชัดเจน ซึ่งถ้ามีเครื่องเหล่านี้จะสามารถช่วยsupport ความรู้สึกออกมาเป็นข้อมูลตัวเลขด้วย ทีนี้ก็จะสามารถตัดสินใจได้ง่ายและจะได้ไม้ที่เหมาะสมกับเราจริงๆค่ะ”

“ข้อต่อมานะคะ ควรจะมีโปรไปด้วย โปรในที่นี้หมายถึงคนที่สอนเรื่องสวิงของเราอยุ่ หรือไม่ก็เปนคนที่รู้จักสวิงของเรา และสามารถปรึกษาเรื่องสวิงได้ค่ะ”

“ตามประสบการณ์ของ อมล นะ บางทีเวลาเราไปตามร้านขายอุปกรณ์เราะจะไปเจอนักขายที่พูดโน้มน้าวใจเก่ง ถ้าเราไปกับเพื่อน, โปร หรือคนที่เราไว้ใจ เราจะมีที่ปรึกษาก่อนที่เราจะตัดสินใจจ่ายสตางค์หรือทำการฟิตติ้ง”

“คุลิ เคยได้ยินบางคนบอกว่ารู้ตัวอีกทีก็ตัวเบา รูดบัตร จ่ายตังค์ไปซะแว้ววววว ฮ่าๆๆๆ”

“และสุดท้ายนะคะ ข้อสำคัญเลยก็คือ การเอาความรู้สึกของเราความชอบของเราเป็นหลัก ในการตัดสินใจ ถ้าเราทำการฟิตติ้งออกมาแล้วรู้สึกไม่ชอบ เช่น หนักไป เบาไป หรือว่า ก้านแข็งไป อ่อนไป ก็ควรบอกกับฟิตเตอร์หรือคนที่ทำไม้ให้เรา แบบตรงไปตรงมาค่ะ เพราะการฟิตติ้งคือการทำไม้ให้เหมาะสมกับรูปร่าง สรีระ และวงสวิงของเรามากที่สุด ดังนั้นไม่ต้องเกรงใจฟิตเตอร์ที่จะให้เค้าแก้ไม้ให้เหมาะสมกับเรามากที่สุดค่ะ”

“อันนี้เห็นด้วยที่สุดเลยค่ะ อมล ตังค์ของเรา ผลงานของเรา จะฟิตติ้งทั้งทีก็ต้องพิถีพิถันกันหน่อย คุลิเชื่อว่าถ้าได้ไม้ที่เหมาะกับเรา และเรามีความมั่นใจในอุปกรณ์ก็จะทำให้มีความสุขกับการเล่นกอล์ฟมากขึ้นด้วย”

“หวังว่าเราสองคนจะทำให้ท่านนักกอล์ฟที่อยากจะฟิตติ้งและกำลังมองหาร้านที่เหมาะสมได้ไอเดียไปประกอบการตัดสินใจเลือกร้านนะคะ”

“อมล เคยได้ยินมั้ย ไม้กอล์ฟที่ดีต้องมีน้ำหนักที่เหมาะสม เหมือนผู้หญิงตัวกลม คือผู้หญิงดี ฮ่าๆๆๆ”

“โอ๊ยยย คุลิ มันเกี่ยวกันมั๊ยเนี่ย ? พอดีกว่าค่ะ ไปดีกว่า แล้วพบกันใหม่กับเรื่องราวสนุกๆจากเราสองคนใน กิน กอล์ฟ ช้อป ชิพ คราวหน้านะค้าาา”