ผมมาถึงจุดนี้ได้ยังไง จุดที่ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวป่า (3)
ผมมาถึงจุดนี้ได้ยังไง จุดที่ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวป่า (3)
ท้าวความถึงตอนที่แล้ว จุดเริ่มต้นของการขี่มอเตอร์ไซค์ ของผมคือ จักรยาน (ความจริงก็แทบจะทุกคน ก่อนขี่มอเตอร์ไซค์ก็ต้องหัดจักรยานก่อน) แต่ในกรณีของผม มันหมายถึงการเที่ยวป่าด้วยสองล้อด้วย ความจริงผมก็เป็นคนชอบเที่ยวป่าสัมผัส ธรรมชาติ อยู่แล้ว สมัยเรียนก็ไปแคมป์ปิ้ง นอนเต็นท์บ่อยๆ แต่ส่วนใหญ่จะไปด้วย รถบ้างเดินบ้าง แต่พอได้มาสัมผัสการเที่ยวป่าด้วย จักรยานยิ่งทำให้ชอบเข้าไปอีก เพราะไปได้ไกลกว่า ได้ออกกำลังกายด้วย ทางที่พวกผมชอบไปในต่างประเทศจะเรียกว่า single track คือเป็นทางสัญจรที่ใช้พื้นที่น้อยมาก กว้างแค่ตัวคนผ่านได้ ในอุทยานแห่งชาติ ของเมืองนอก เข้าจะติดป้ายบอกไว้เลย ว่าให้เฉพาะ เดินเท้า, ขี่จักรยาน, หรือขี่ม้าเท่านั้น เพราะทางจะแคบจนไม่สามารถสวนทางกันได้ จะได้รบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ทางพวกนี้จะมีการปรับพื้นที่ไม่มาก คือ มีหินก็ต้องปีนหิน มีลำธารก็ต้องลุยข้ามกัน จึงทำให้ ทางค่อนข้างโหดพอสมควร แต่กลับท้าทายสำหรับนักปั่นหลายๆคนที่ ทางดีๆมีไม่ชอบขี่ กลุ่มจักรยานที่ผมขี่ด้วยจึงเป็นกลุ่มที่ชอบธรรมชาติ และความท้าทายของเส้นทาง บางคนก็มาจากสายรถออฟโร้ด แต่หันมาออกกำลังกาย และเห็นว่า การขี่จักรยานนั้น ทำลายธรรมชาติน้อยมาก ที่สำคัญอีกอย่างที่นักปั่นหลายๆคนคือ บ้าอุปกรณ์ คือ อุปกรณ์ต้องดี ช่วยเราได้จริง เหมือนอุปกรณ์ กอล์ฟ ของบางชิ้นหากเลือกมาแล้วเหมาะกับตัวผู้ใช้ก็จะทำให้เล่นกีฬานั้นได้สนุกขึ้น ผมเชื่อว่าหลายๆท่านที่อ่านบทความนี้ คงได้สัมผัสและศึกษาเรื่อง จักรยานพอสมควรเนื่องจากกระแสแรงมาก แต่คาดว่าน่าจะเป็นจักรยานทางเรียบกันส่วนใหญ่ เพราะบ้านเราไม่ได้มีภูเขาให้ขี่มากมาย จน เมื่อ สองสามปีที่แล้ว ตัวแทนนำเข้ารายใหญ่ถึงขั้นเลิกนำเข้าจักรยานแบบ fullsuspension หรือจักรยานที่มีทั้งโช๊คหน้าโช๊คหลัง
สำหรับ เบสิคทั่วไปของการวัดตัวจักรยาน เท่าที่จำได้เมื่อเดินเข้าร้านจักรยาน ใหม่ คือ อย่างแรก คนขายจะถามเราก่อนว่าขี่แนวไหน จากนั้นก็ลองวัดตัว ดู ถ้าวัดกันง่ายๆก็แค่ ดูว่าเวลาลงจากเบาะคล่อมแฟรมรถ ถ้ายืนแล้วเป้าไม่ติด ก็ถือว่าความปลอดภัยขั้นพื้นฐานผ่าน จากนั้นก็คงเป็นเรื่อง ของเสปค ส่วนใหญ่จะเน้นเบากันยิ่งเบายิ่งแพง จะได้ปั่นเบาแรงและไปได้เร็ว แต่สำหรับกลุ่มผม จะไม่เน้นกันมากกันเรื่อง เบาแต่จะเน้นกันเรื่อง ช่วงล่าง เบรค และเกียร์มากกว่า เรื่อง ขนาด และองศาของแฟรมก็มีผลต่อการขี่ แต่น่าจะมีผลมากกว่าในรถทางเรียบเพราะในการขี่ทางเรียบนั้นผู้ขี่จะนั่งอยู่บนอานตลอด แต่ในการขี่ในป่าหรือ ใน แทรคนั้นเมื่อถึงอุปสรรค ผู้ขี่จะลุกขึ้นยืนและพยามยาม ถ่วงรถหน้าหรือหลัง ตลอดเวลา ทำให้สำหรับผมแล้วเรื่องขนาดของแฟรมนั้นไม่ตายตัวมากนัก อีกทั้งแต่ละยี่ห้อ ก็ผลิตออกมาไม่เท่ากันแม้จะบอกว่า ไซค์เดียวกัน แต่ขอให้ลองแล้วได้ความรู้สึกก็พอ เหมือนไม้กอล์ฟที่ถ้าได้ลองแล้วมั่นใจว่าตีแล้วดีก็ใช้ไปเถอะครับ
เรื่องช่วงล่างของจักรยานนั้นหากขี่ธรรมดา ก็อาจจะไม่รู้สึกแต่หากมีโอกาสได้ลองลงจากเขาสูงๆ ไหลลงยาวๆ ผ่านดงหิน รากไม้ มีเนินให้โดด ก็จะรู้สึกถึงความแตกต่างทันที เพราะโช๊คจักรยานแบบที่พวกผมขี่นั้นจะเป็นโช๊คลมไม่ใช้สปริงค์ เพื่อลดน้ำหนัก แต่จะต้องสูบลมให้เหมาะกับน้ำหนักของผู้ขี่ อันนี้สำคัญมากสำหรับผู้ที่ขี่รถที่มีโช๊คเติมลม เพราะน้ำหนักของผู้ขี่เทียบกับรถนั้น คนหนักกว่ามาก และเวลาใช้งานจริงนั้นส่วนใหญ่โช๊คจะต้องทำงานได้เต็ม 100% ถึงจะได้ความรู้สึกที่แท้จริงของรถคันนั้น เวลาเซ็ทรถเข้าที่แล้วขี่ลงมาจากเขาจะมีความสุขมากครับ (ถ้าไม่ล้ม)
เรื่องเบรคนั้น โชคดีที่ผมมาขี่ลงเขาในยุคที่เป็น ดิสก์เบรคแล้วทำให้ พลังการเบรคเหลือเฟือมากจนตอนเริ่มต้นขี่หลายครั้งล้มเพราะเบรค และเราก็หลงทางกันไปซื้อเบรค แบบบ้าพลังกันมาแต่พอขี่ไปสักพัก จึงรู้ว่าเบรคที่แรงเยอะไปกลับไม่ดี พวกนักแข่ง downhill น้ันกลับใช้เบรคน้อยมาก เพียงแค่แตะเบาๆ คือใจคอเค้าจะไม่เบรคกันนั้นเอง อยากจะลงเขาเร็วๆ สำหรับเกียร์น้ัน การขี่ในแทรค หรือ all mountain จะต้องมีการขี่แบบ ขึ้นๆลงๆ เปลี่ยนเกียร์บ่อยๆ และความเร็วรถจะเปลี่ยนเร็วมาก บางครั้งแทบจะหยุด พอพ้นเนิน ก็ไหลลงที่ความเร็ว สูงแบบทันที่ ทำให้ระบบเกียร์ที่เปลี่ยนต้อง ข้ามได้ที่ละหลายเกียร์ไม่เหมือนเกียร์รถทางเรียบที่ จะต้องให้เกียร์ชิด และค่อยๆเปลี่ยนไล่กันไป
เรื่องอุปกรณ์นั้น เป็นเรื่องสนุกสนานและได้ทดลองกันจนเสียทั้งเลือดเสียทั้งเงินกัน แต่ตอนนี้ดีขึ้นแล้วไม่ต้องซื้อมาลองเนื่องจากสนามราบ 11 ที่ผมไปขี่จนทำให้คลั่งการขี่จักรยาน นั้น ตอนนี้มีรถจักรยานแบบ Full suspension ให้ทดลอง หลายรุ่นหลายยี่ห้อ แถมสนามยังมี เนินโดด มีรากไม้ มีการขี่ขึ้นและลงเขาเหมือนยกป่ามาไว้ในเมือง ใครสนใจก็ลอง พิมพ์คำว่า “club11” ใน กูเกิ้ลได้ครับ สนามนี้ต้องลองครับ