คอลัมน์ในอดีต

ศรัทธาสร้างพลัง (7)

ศรัทธาสร้างพลัง (7)

พระผู้ทรงปัญญาอันยิ่งใหญ่

ความหมายและลักษณะของพระคเณศวรนั้นได้มีการแบ่งเอาคุณลักษณะของพระองค์ตามความเชื่อออกเป็นหลายลักษณะและความหมายแห่งภูมิความรู้และปัญญาอันยิ่งใหญ่ดังนี้

พระเศียรทรงใช้เศียรใหญ่ที่เต็มด้วยปัญญาความรู้เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งปวง

พระกรรณทรงใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ในรูปแบบอย่างอื่นๆอันเป็นสิ่งแรกแห่งการศึกษา

งวงเราได้นำเอาความรู้ต่างๆที่ได้รับจากการเลือกเฟ้นระหว่างทวิลักษณะความผิด-ถูก, ความดี-ความชั่ว อันมีงวงที่ยาวและใหญ่ใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆอันปัญญานั้นเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาของชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรคและพบกับความสำเร็จสมดั่งความมุ่งหมาย

งาข้างเดียวอีกข้างหักนั้นเพื่อแสดงให้รู้ว่าจะต้องอยู่ในเหตุระหว่างความดี-ความชั่ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกันดังเช่นความเย็น-ความร้อน, การเคารพ-การดูหมิ่นเหยียดหยาม, ความซื่อสัตย์-ความคดโกง

หนูแสดงถึงความปรารถนาของมนุษย์ถึงแม้ว่าความปรารถนาจะเล็กน้อยเช่นเดียวกับหนูที่มีรูปร่างเล็กแต่มีความสามารถทำลายความทุกข์ได้อย่างราบคาบ หนูจะไม่ยอมกัดกินอาหารที่ถวายต่อเทพเจ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพระองค์ เมื่อใดก็ตามที่พระองค์ทรงเสด็จไปสู่ยังที่ต่างๆเพื่อทรงช่วยเหลือสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงใช้หนูเป็นพาหนะในการเดินทาง เช่นเดียวกันเราจะต้องศึกษาในการใช้ความต้องการทั้งหลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

บ่วงบาศทรงถือโดยทรงลากจูงคนทั้งหลายให้เดินตามรอยพระบาทของพระองค์

ขวานเป็นอาวุธทรงใช้ปกป้องจากความชั่วร้ายและคอยขับไล่อุปสรรคทั้งหลายที่มาก่อกวนต่อบริวารของพระองค์

โมทักคือข้าวสุกผสมน้ำตาลปั้นเป็นลูกเพื่อประทานให้เป็นรางวัลต่อการที่เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์

ท่าประทานพรหมายถึงยิ่งใหญ่แห่งผาสุกและความสำเร็จให้กับสาวกของพระองค์

โอมคำศักดิ์สิทธิ์ คำว่า “โอม” ในภาษาสันสกฤตและภาษาทมิฬเป็นภาษาโบราณของชาวฮินดู พยัญชนะของทั้งสองภาษานั้นยากต่อการเข้าใจแต่ว่าตัวอักษรซึ่งแสดงถึงหัวใจของมนต์คือโอมซึ่งเขียนคล้ายกันมากแต่ออกเสียงเหมือนกันในภาษาสันสกฤต “โอม” เขียนคล้ายเศียรของช้างที่ชูงวงขึ้นแต่ในภาษาทมิฬ “โอม”เขียนเหมือนเศียรช้างที่งวงทิ้งลงข้างล่าง
ลักษณะเด่นทางเทวประติมากรรมของพระพิฆเณศวร

พระพิฆเณศวรนั้นมีหลายปาง และมีให้เลือกบูชาตามความเหมาะสมพอจะแยกได้ดังนี้

เศียรพระพิฆเณศวร มีตั้งแต่ 1 เศียรหรือพระพักตร์เดียวไปจนถึง 2-5 เศียรนี้ นิยมใช้ในปางเหรัมภะซึ่งแพร่หลายในอินเดียและเนปาล ส่วนพระพิฆเณศวรในแบบของคนไทยนั้นจะมีเพียงเศียรเดียวเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วพระพิฆเณศวรจะมีเพียง 2 ตา ส่วนตาที่ 3 บริเวณหน้าผาก(บ้างใช้เปลวไฟเป็นสัญลักษณ์แทน) นิยมใช้ในลัทธิตันตระที่ชัดเจนมากเห็นจะเป็นพระพิฆเณศวรในศิลปะแบบธิเบต นอกจากนี้บริเวณหน้าผากทั่วไปอาจจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยวหรือเส้น3 เส้นตามลักษณะของไศวะนิกายหรือพระเศียรอาจจะสวมมงกุฎชนิดแบนราบหรือสวมชฎาทรงสูงก็ได้ส่วนงานั้นจะเพียงงาเดียวข้างซ้ายเท่านั้น ส่วนงาขวานิยมหักไว้

งวงมีลักษณะที่ห้อยตรงแต่ส่วนปลายไปทางซ้ายหรือขวา แต่ที่นิยมคือหันงวงไปทางขวา และหยิบขนมบตสะ(โมทกะ)จากถ้วยขนมที่ถืออยู่ในมือซ้าย หรือบางทีก็เป็นพวกผลไม้ป่า

พระกรมีจำนวนกรตั้งแต่ 2-7 เรื่อยขึ้นไปจนถึง กว่ากร หรือมากกว่านั้น สัญลักษณ์ที่ถือตามพระกรต่างๆเช่น งาหัก, ผลมะนาว, ผลไม้ป่า, มะขวิด, ลูกหว้า, หัวผักกาด, ขนมโมทกะ, ผลทับทิม ส่วนอาวุธนั้นมีมากมายอาทิ ขวาน, บ่วงบาศ, ดาบ, ตรีศูล ฯลฯ สิ่งอันเป็นมงคล เช่น สังข์, แก้วจินดามณี, ครอบน้ำ ฯลฯ

ท่าทางพระพิฆเณศวรในยุคแรกนั้น จะเป็นพระคเณศในรูปแบบของการยืนเป็นส่วนใหญ่ จากนั้นจึงได้พัฒนามามีท่านั่ง ซึ่งมีการนั่งถึง 4 ลักษณะด้วยกันคือ

ท่ามหาราชลีลา ท่าที่เข่าข้างหนึ่งยกขึ้น อีกข้างงอพับบนอาสนะ (ซึ่งมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 )

ท่านั่งไขว้กัน

ท่านั่งห้อยพระบาท ข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างวางพักอยู่บนอาสนะ

ท่านั่งโดยขาทั้งสองข้างพับอยู่ทางด้านหน้า ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ชิดกัน (ศิลปะชวา, บาหลี)

เครื่องประดับในยุคแรกไม่นิยมการทรงเครื่องประดับ ต่อมาจึงเริ่มมีเครื่องทรงมากขึ้น เริ่มจากสายยัชโญปวีต (สายศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ บางทีก็เป็นงูธรรมดา ส่วนผ้านุ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่สร้างรูปเคารพ ส่วนเครื่องทรงนั้นมีการเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น มงกุฎ, สร้อยคอ, สร้อยข้อมือ, สร้อยกระดิ่ง

พาหนะเท่าที่พบในปัจจุบันมีเพียงหนู, นกยูง และสิงโตเท่านั้น

มณีจันทร์ฉาย