จิตวิทยาการกีฬา

จิตวิทยาการกีฬากับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2023

ในฐานะนักจิตวิทยาการกีฬาทีมของชาติไทยที่ส่งนักกีฬามากกว่า 900 คนเข้าร่วมการแข่งขันที่หางโจว ประเทศจีน ระหว่าง 23 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม 2566 การทำหน้าที่นักจิตวิทยาการกีฬาในครั้งนี้ ไม่เพียงการติดตามในนักกีฬาระหว่างการแข่งขัน แต่เป็นการดำเนินการที่มีมาตั้งแต่ที่อยู่เมืองไทย มีการเตรียมการมาอย่างต่อเนื่องจากนักจิตวิทยาการกีฬาจำนวนหนึ่งที่คลอบคลุมกีฬาเกือบทุกชนิด ทั้งที่การกีฬาส่งไปให้บริการที่บริเวณที่พักหรือสนามแข่งขัน และที่ทางสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยขอมา อย่างไรก็ตามการให้คำปรึกษากับนักกีฬาจำนวนดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับการให้บริการด้านอื่น ๆของวิทยาศาสตร์การกีฬา

ณ โอกาสนี้ จึงขอให้เป็นข้อมูลเพื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬากับการเล่นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศอีกมุมหนึ่ง ก่อนที่จะวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมของจิตวิทยาการกีฬากับการแข่งขันในครั้งนี้

การให้บริการทางด้านจิตวิทยาการกีฬา เป็นหนึ่งในการให้การสนับสนุนนักกีฬาทีมชาติไทย ผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีม ที่เรียกคณะทำงานนี้ว่า Sport Science Mobile Clinic ที่เป็นความรับผิดชอบโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นหลัก มีบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาทุกสาขา จำนวน 25 คน ที่มีนักจิตวิทยาการกีฬา จำนวน 3 คน รวมอยู่ด้วย และทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม 2566 โดยพักอยู่ในที่พักที่ใช้เวลาเดินไปสนามกีฬาหลัก (Main Stadium และศูนย์กีฬาทางน้ำ เทนนิส และบาสเกตบอล) ประมาณ 15 นาที

การให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยาการกีฬามี จำนวน 17 ชนิดกีฬา จากทั้งหมด 40 ชนิดกีฬา ที่ โค้ชหรือผู้จัดการทีมพานักกีฬามาเองหรือนัดหมายให้พบกันที่บริเวณสนามแข่งขัน และมีการให้บริการทั้งในส่วนบุคคลและทั้งทีม โดยมีนักกีฬาที่เข้ารับการให้คำปรึกษา จำนวนรวม 223 คน อย่างไรก็ตามก็มีการขอรับการปรึกษาซ้ำด้วย ในบางชนิดกีฬา

กอล์ฟเป็นอีกชนิดกีฬาที่มาขอรับการให้บริการ แต่เป็นในส่วนอื่นของวิทยาศาสตร์การกีฬา และมารับบริการเพียงครั้งเดียว เสียดายครับว่าสนามแข่งขันกับศูนย์บริการฯ ค่อนข้างจะห่างทำให้ไม่สามารถเดินทางไปให้บริการที่สนามแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามนักกีฬากอล์ฟไทยมีผลงานการแข่งขันที่ดี แสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการมาอย่างดีทั้งร่างกาย ทักษะและจิตใจ

มีสิ่งหนึ่งที่อยากจะแชร์ให้ได้ทราบที่เกิดขึ้นในการแข่งขัน รวมทั้งบทเรียนหลายๆอย่างทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะในช่วงของการแข่งขัน สิ่งที่มักจะเป็นประเด็นของการขอรับการปรึกษา คือ ความตื่นเต้น (ถ้าเป็นนักกีฬาใหม่) ในการที่จะลงแข่งขันในรายการนานาชาติระดับทวีป ซึ่งถือว่าเป็นรายการใหญ่รองมาจากการแข่งขันโอลิมปิคหรือชิงแชมป์โลก ความเครียดและความวิตกกังวลกับการเล่นที่กำลังจะเกิด ซึ่งจากการให้คำปรึกษา สรุปได้ว่าการมีเป้าหมายที่เหรียญรางวัล ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้เหรียญรางวัล ความมั่นใจว่าจะทำได้ดีตามความคาดหวังของตัวเองและสังคมรอบข้าง ฯ สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ เป็นลักษณะของจิตใจที่เกิดกับทุกคน ถ้านักกีฬาสามารถเตรียมการหรือป้องกันมาก่อนได้ก็จะไม่ยาก และถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เมื่อเกิดแล้วนักกีฬาสามารถควบคุมความคิด ความรู้สึกและอารมณ์นี้ได้เป็นเรื่องที่ดี

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาและเปรียบเทียบถึงจำนวนครั้งของการเข้ารับบริการจะมีจำนวนที่น้อยกว่า ในการแข่งขัน SEA Games ที่เพิ่งผ่านมา ซึ่งก็น่าจะมีสาเหตุในเบื้องต้นมาจากการแข่งขันเอเชียเกมส์นี้ ประเทศที่ได้รับเหรียญรางวัล ก็จะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ครองแชมป์ ได้เหรียญทองหรือเหรียญอื่นๆ ซึ่งห่างไกลจากประเทศที่เหลือ ดังนั้นเมื่อการแข่งขันค่อนข้างจะแตกต่างกัน ความคาดหวัง (ที่จะนำไปสู่ความตื่นเต้น ความเครียด) ก็จะมีน้อยและไม่ส่งผลต่อการแข่งขัน นักกีฬาและทีมงานจึงสามารถเข้าร่วมการแข่งในสภาวะที่ง่ายกว่าที่ผ่านมา การเข้ามาใช้บริการทางด้านจิตวิทยาการกีฬา จึงมีจำนวนที่น้อยลง แต่ก็ยังคงเกิดขึ้นในบางชนิดกีฬา นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีความท้าทายหรือมีความคาดหวังจากการเข้าร่วมแข่งขัน

การแข่งขันเอเชียนเกมส์ ในครั้งนี้สามารมองได้ในหลายแง่หลายมุม จำนวนนักกีฬา จำนวนชนิดกีฬา พัฒนาการของหลายชนิดกีฬาที่ดีขึ้น จำนวนเหรียญที่มากกว่าครั้งที่แล้วทั้งเหรียญทอง และเหรียญรวม รวมทั้งการจัดการแข่งขันที่มีมาตร

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันเอเชียนเกมส์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแข่งขันในระดับนานาชาติ ที่จะต้องพัฒนากันต่อไปของทีมชาติไทย

ผศ. ดร. นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
นายกสมาคมจิตวิทยาการกีฬาประยุกต์แห่งประเทศไทย