Slop Rating อีกตัวช่วยสำหรับมือรอง
Slop Rating อีกตัวช่วยสำหรับมือรอง
ท่านนักกอล์ฟส่วนใหญ่ คงคุ้นเคยกับ แต้มต่อ ของตัวเองอย่างแน่นอน แต่สำหรับ แต้มต่อ ของสนาม นั้น อาจจะเคยได้ยินแบบผ่าน ๆ ไปบ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทั้งสองเรื่องนี้ มีความสัมพันธ์กันแบบต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากได้ทราบเรื่องราวของ สโลป เรทติ้ง หรือบ้านเราอาจเรียกว่า แฮนดิแคป สเกล กันจนคุ้น ก็อาจเป็นประโยชน์ให้กับนักต่อ (มา) รอง (ไป) สำหรับพวกเราก็ได้นะครับ
สโลป เรทติ้ง เป็นการวัดความยาก ความง่าย ของสนามกอล์ฟ สำหรับนักกอล์ฟมือกลาง ๆ หรือเรียกว่า โบกี้ กอล์ฟเฟอร์ เมื่อเทียบกับนักกอล์ฟฝีมือดีที่เล่นแบบสแครช (ไม่มีแต้มต่อ) ซึ่งถูกใช้โดยระบบเหมือนกับแต้มต่อประเภทบุคคล เพื่อปรับค่า ทำให้แต่ละสนาม มีความยากง่ายเท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้เมื่อเล่นในสนามที่ยากขึ้น โดยคะแนนของผู้เล่นที่ถือแต้มต่อสูงกว่า จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่แต้มต่อที่ถืออยู่ตามปกติ จากที่คาดการณ์ไว้ เช่น ถือแต้มต่อ 18 ก็น่าจะตีเกินราว 18 ที แต่พอเจอสนามยาก อาจทะลุไปเป็น 24 ที, คำนี้คิดค้นโดย USGA หรือ สมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกา นั่นเอง
ประวัติของเรื่องนี้ เกิดจากจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบแฮนดิแคป เพื่อจัดระเบียบความยุ่งยากในการเล่นกอล์ฟ ของนักกอล์ฟที่มีความสามารถต่างกัน โดยในปี 1979 USGA ได้จัดตั้งทีมวิจัยแฮนดิแคป (HRT) ขึ้นมา, ซึ่งสองปีก่อนหน้านี้ ในปี 1977 นาวาอากาศโทดีน คนุธ นักเรียนระดับบัณฑิตศึกษา จากโรงเรียนนาวิกโยธินบัณฑิตวิทยาลัย ได้คิดค้น ปรับปรุงระบบ คอร์ส เรทติ้ง รวมถึงการให้คะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก ที่ให้ความสำคัญของคุณลักษณะต่าง ๆ ทั้ง 10 ประการ สำหรับแต่ละหลุม ขณะอาศัยอยู่ในนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย เขาได้พัฒนาวิธีการสำหรับการจัด โบกี้ เรทติ้ง โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ที่รวบรวมจากคะแนนของอาสาสมัครในท้องถิ่น แล้วนำมาเฉลี่ย โดยหลักสูตรนี้ ต่อมาก็เป็นพื้นฐานสำหรับระบบการให้คะแนนของ USGA ในปัจจุบัน และ นาวาอากาศโท คนุธ ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสด้านแต้มต่อของ USGA เป็นเวลาถึง 16 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 1981
ผลลัพธ์จากการทำงานของ คนุธ และ ทีมวิจัยแต้มต่อ (HRT) คือการคำนวณตามความแตกต่าง ระหว่างการจัดอันดับคอร์ส เรทติ้ง และ โบกี้ เรทติ้ง เพื่อให้การวัดเชิงตัวเลขของความแตกต่าง ระหว่างนักกอล์ฟแบบ สแครช และ โบกี้ กอล์ฟเฟอร์ สามารถใช้เพื่อปรับแต้มต่อของนักกอล์ฟให้เหมาะสมขึ้น โดยขึ้นอยู่กับสนามที่กำลังเล่นอยู่ และยังเป็นพื้นฐานที่เรียกว่า สโลป เรทติ้ง ในปัจจุบัน ซึ่งในปี 1982 สมาคมกอล์ฟโคโลราโด ได้จัดอันดับ คอร์ส เรทติ้ง ทั้งหมดโดยใช้กระบวนการใหม่ ภายใต้การนำของ ดร. ไบรอน วิลเลียมสัน สมาชิก HRT ในปี 1983 โคโลราโดได้ทดสอบระบบ สโลป เรทติ้ง ด้วยกระแสตอบรับในเชิงบวก และมีอีก 5 รัฐ เข้าร่วมกับโคโลราโดในการทดสอบระหว่างปี 1984 ก่อนที่ระบบ สโลป เรทติ้ง จะเริ่มนำไปใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 1987 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1990 เป็นต้นมา สมาคมกอล์ฟทุกแห่งในสหรัฐอเมริกา ก็ได้ใช้ระบบนี้โดยทั่วกัน โดย USGA คอร์ส เรทติ้ง และ สโลป เรทติ้ง เป็นพื้นฐานสำหรับของระบบแต้มต่อที่สำคัญที่สุดของโลก จากหลายระบบ รวมถึง เวิลด์ แฮนดิแคป ที่พัฒนาร่วมกันโดย USGA และ R&A ซึ่งเปิดตัวทั่วโลกในปี 2020
USGA สโลป เรทติ้ง เป็นค่าตัวเลขที่บ่งบอกถึงความยากง่าย ของการเล่นในสนามกอล์ฟจากตำแหน่งหมุดต่าง ๆ สำหรับ โบกี้ กอล์ฟเฟอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับนักกอล์ฟที่เล่นแบบ สแครช โดยไม่มีแต้มต่อ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อเล่นในสนามที่ยากขึ้น คะแนนของผู้เล่นที่มีแต้มต่อสูงกว่า จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าของนักกอล์ฟที่มีแต้มต่อต่ำกว่า, การจัดสโลป เรทติ้ง ของการเล่น จะใช้คาดการณ์ถึงผลคะแนนที่เพิ่มขึ้น เป็นทิศทางเดียวกันเมื่อเทียบกับ คอร์ส แฮนดิแคป ของ USGA มีลักษณะเช่นเดียวกับความชันของกราฟทางคณิตศาสตร์
สโลป เรทติ้ง คำนวณจาก ผลคูณของความแตกต่าง ระหว่างคะแนนดี ที่คาดหวังสำหรับ โบกี้ กอล์ฟเฟอร์ (แฮนดิแคปในช่วง 20 ถึง 24) เรียกว่า โบกี้ เรทติ้ง และคะแนนดี ที่คาดหวังสำหรับนักกอล์ฟแบบสแครช (ไม่มีแต้มต่อ) เรียกว่า USGA คอร์ส เรทติ้ง ทั้งสองวิธีถูกกำหนดโดยผู้ประเมิน ซึ่งจะวัดและบันทึกตัวแปรมากกว่า 460 รายการบนแบบฟอร์มมาตรฐาน คอร์ส เรทติ้ง สำหรับการทีออฟในแต่ละระยะหมุดที ซึ่งมีค่าในช่วงตั้งแต่ 55 ถึง 155 โดยมีระดับความยากในการเล่นมาตรฐานอยู่ที่ 113, ยิ่งระดับ สโลป เรทติ้ง สูงมากเท่าไร สนามจะยิ่งเล่นได้ยากขึ้นสำหรับ โบกี้ กอล์ฟเฟอร์ และในการคำนวณ สโลป เรทติ้ง ความแตกต่างระหว่าง โบกี้ กอล์ฟเฟอร์ และ สแครช จะคูณด้วย 5.381 สำหรับผู้ชายและ 4.240 สำหรับผู้หญิง ดังนี้
Slope Rating (Men) : 5.381 x (Bogey Rating – USGA Course Rating)
Slope Rating (Women) : 4.24 x (Bogey Rating – USGA Course Rating)
เป็นอย่างไรบ้างครับ งง และ ยุ่งยากดีมั้ย 555 น่าจะสร้างความสับสนให้ได้บ้างพอขำ ๆ ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยไว้ก่อน เหตุที่นำเสนอก็เพราะอยากจะชี้ให้เห็นว่า เบื้องหลังความสนุกของพวกเรานั้น มีคนช่างคิด ช่างสรรหา (เรื่อง) มากำหนดโน่นนี่นั่น เพื่อทำให้พวกเราได้เล่นกอล์ฟกันอย่างสนุก มีความความเท่าเทียมผ่านระบบแต้มต่อ ทั้งส่วนบุคคลและสนาม ครั้งหน้า ก่อนทีออฟ อย่าลืมชำเลืองมองดูว่า สนามนี้ หลุมนี้ มีแต้มต่อ หรือมี สโลป เรทติ้ง ให้เท่าไหร่ พวกเราชาวท่านรอง ก็ต้องร้องขอความเห็นใจตามตัวเลขที่แจ้งไว้ จากท่านต่อกันด้วยนะครับ.
ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Slope_rating
กองบรรณาธิการ