โอกาสของนักกอล์ฟที่ต้องสร้าง ไม่ได้เดินทางมาหาง่ายๆ
โอกาสของนักกอล์ฟที่ต้องสร้าง ไม่ได้เดินทางมาหาง่ายๆ
การแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 27-30 ตุลาคม 2565 ที่สนามกอล์ฟอมตะ สปริง คันทรี คลับ ชลบุรีเป็นการกลับมาจัดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเคยจัดขึ้น ในปี 2555 ครบทศวรรษพอดี
เป็นการแข่งขันเฉพาะนักกีฬาชาย ของประเทศต่างๆในเอเชีย และออสเตรเลีย ทุกคนที่จะมาแข่งได้ต้องเป็นนักกีฬาที่มี WAGR (World Amateur Golf Ranking) ส่งได้ประเทศละ 6 คน ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพเขาให้ส่งเข้าร่วมได้ 10 คน 2 วันแรกมีผู้เข้าร่วมประมาณ 120 คน และจะตัดเหลือ 50 คน ในสองวันหลัง จัดระยะความยาวสนามอยู่ที่ 7500 หลา
สมาพันธ์กอล์ฟแห่งเอเชียแปซิฟิก (APGC) และ The R&A ร่วมเป็นเจ้าภาพ มีองค์กรอย่าง Master เป็นสปอนเซอร์หลัก ผู้เป็นจัดการแข่งขันชิงแชมป์สมัครเล่นแห่งเอเชียแปซิฟิก (AAC) โดยหมุนเวียนไปจัดทั่วเอเชียแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี 2552 เพื่อพัฒนากอล์ฟสมัครเล่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งนี้เป็นครั้งที่13 โดยปีหน้าจะไปที่ออสเตรเลีย
โดยมี IMG (International Management Group) มืออาชีพในด้านการจัดการแข่งขัน เป็นผู้ดำเนินการจัดการแข่งขันทุกอย่าง
การแข่งขันนี้ สำคัญและยิ่งใหญ่ไหม ต้องบอกว่ามากๆ ไม่ใช่อยู่ๆจะเข้าแข่งขันได้ ถึงแม้จะเก่งแค่ไหนก็ตามถ้าไม่มี WAGR และเป็นนักกอล์ฟฝีมือเบอร์ต้นๆของแต่ละประเทศ จะว่าไปแล้วมันยิ่งกว่าการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์เสียอีก มันแค่ไม่ได้มีเหรียญเป็นรางวัล และไม่มีประเภททีมเท่านั้น
ทางองค์กรระดับโลกในกีฬากอล์ฟ เขาให้ความสำคัญในการจัดครั้งนี้มาก เขาถือว่าเป็นการโปรโมทกีฬากอล์ฟให้เป็นที่นิยมทั่วโลก คนของ Master ใส่เสื้อเขียวมาเดินกันหลายคน แม้แต่ประธาน Fred Ridley ประธานการแข่งขัน Masters ก็ยังมาร่วม
R&A ส่งทีมงานกรรมการมาเอง
คนบิ๊กๆ ของ IMG มาร่วมหมด มองเห็นแต่คนสำคัญที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระดับโลกมา แต่คนสำคัญในกีฬากอล์ฟบ้านเรามองซ้าย มองขวา ไม่เห็นสักคน เสียดายโอกาสต่างๆ ที่เสียไป แบบไม่เห็นความสำคัญของงานระดับนี้
ถ้าจะบอกว่า นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ทุกคน..ย้ำว่าทุกคน ไม่ว่ากำลังอยู่ที่ไหนในโลก เช่นผู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยในอเมริกา จะสามารถเดินทางมาแข่งขันได้ เพราะทางผู้จัดจะออกทั้งค่าเครื่องบินไปกลับให้ ที่พักฟรี ค่าแคดดี้ ค่าทิป ไม่ต้องจ่ายอะไรสักอย่างแม้แต่อาหาร แถมมีของติดไม้ติดมือกลับเป็นที่ระลึกอีกด้วย
แชมป์จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน Masters Tournament ปี 2023 และ The 151st Open ร่วมกับตัวแทนจากประเทศทางลาติน ทางยุโรป ในขณะที่รองชนะเลิศจะได้รับตำแหน่งในรอบ Final Qualifying for The Open
“เราตั้งตารอที่จะนำการแข่งขัน Asia-Pacific Amateur Championship กลับมาที่ Amata Spring Country Club และรวบรวมผู้เล่นระดับแนวหน้าของภูมิภาค ณ สถานที่พิเศษแห่งนี้อีกครั้ง” Taimur Amin ประธาน APGC Fred Ridley ประธานการแข่งขัน Masters กล่าว และ Martin Slumbers ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ R&A ในแถลงการณ์ร่วม “ปีนี้จะเป็นโอกาสพิเศษในการต่อยอดการเติบโตที่เราเคยเห็นในวงการกอล์ฟสมัครเล่นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่งานจัดขึ้นที่ประเทศไทยครั้งล่าสุดเรารู้สึกขอบคุณเจ้าภาพของเราในภูมิภาคในขณะที่เราทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเกมและมอบเส้นทางสำหรับมือสมัครเล่นที่มีความสามารถทั่วเอเชียแปซิฟิก”
นักกีฬาที่มีชื่อเสียงในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ที่ผ่านเวทีการส่งเสริมนี้ ได้แก่ แชมป์ Masters 2021 Hideki Matsuyama ผู้ชนะ AAC สองครั้งและ Cameron Smith ผู้ชนะ The Players ในเดือนมีนาคมแชมป์ดิ โอเพ่นครั้งที่ 150 และปัจจุบันเป็นผู้เล่นอันดับสี่ของโลก
โดยรวมแล้ว ศิษย์เก่า AAC ชนะการแข่งขัน 21 รายการใน PGA Tour จนถึงปัจจุบัน
“การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันชิงแชมป์สมัครเล่นเอเชีย-แปซิฟิกเป็นโอกาสพิเศษในการสนับสนุนการเล่นกอล์ฟในประเทศไทย เนื่องจากความสามารถในประเทศของเรายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง”
ตลอดประวัติศาสตร์ 13 ปีของ AAC
การแข่งขันชิงแชมป์ได้ทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นให้กับผู้เล่นชั้นนำของโลก รวมถึงผู้ชนะ PGA Tour ในอนาคตอย่าง Matsuyama, Pan, Smith, Cameron Davis, Lucas Herbert, Si Woo Kim, Satoshi Kodaira และ Kyoung-Hoon Lee และแน่นอนว่าผู้เล่นในครั้งนี้ก็จะต้องมีคนที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางกอล์ฟอาชีพอย่างแน่นอนเมื่อถึงเวลา
นักกีฬาไทยที่มีแรงบันดาลใจ มีเป้าหมายในการเดินทางอย่างชัดเจน ไม่ควรพลาดกับเส้นทางเดินสายนี้เพราะเป็นโอกาสแสดงความสามารถ แสดงบุคลิกภาพให้บรรดาผู้สนับสนุน สปอนเซอร์ต่างๆ ที่มารวมตัวกันอยู่…โดยเริ่มต้นที่ ต้องมี WAGR กันก่อน เมื่ออายุ 13
ส่วนจะได้อย่างไร คงต้องเริ่มหารายละเอียดและเริ่มดำเนินการได้อย่างรอช้า เริ่มจากที่ต้องมีฝีมือเป็นอันดับแรก และเข้าร่วมการแข่งขันรายการที่เขามี WAGR
โปรเชาวรัตน์ เขมรัตน์



