การสร้างสนามกอล์ฟ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
วันนี้กลับเข้ามาในสนามบ้าง เอาแบบ อินไซด์ถึงข้างในกรีนกันเลยเพราะวันนี้ เรากำลังทำกรีนใหม่เพิ่มอีก 1 กรีน เพื่อเพิ่มความมันส์ให้กับท่านนักกอล์ฟ
การสร้างสนามกอล์ฟเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สมัยก่อนนี้ต้องจ้าง ฝรั่งอย่างเดียว เดี๋ยวนี้หากอยากรู้ว่าสร้างอย่างไรก็เข้า google หาข้อมูลแป๊บเดียวก็ได้แล้ว หากใครอยากลองทำ ก็ทำได้เอง ใช้เงินไม่มาก แต่อาจต้องลองผิดลองถูกกันสักพัก ลองมากๆก็อาจจะแพงเท่ากับจ้างเค้าทำ แต่หากทำเล่นๆไว้ซ้อมพัทหลังบ้านก็ไม่ต้องคิดมากครับ ความจริงพื้นฐานกรีนไม่มีอะไรมากเน้น ระบายน้ำมากกว่า โดย น้ำต้องไม่ขังจนหญ้าตาย แต่ก็ต้องไม่ระบายดีมากจนแห้งเกินไป รดน้ำเท่าไหร่ก็ไม่พอซึ่งอันนี้จะอยู่ที่ ทรายที่เลือกใช้ด้วย ว่าจะต้องได้มาตรฐาน PGA คือต้องสะอาดไม่มีผงฝุ่น ระบายน้ำได้ดี แต่ก็อุ้มน้ำได้เหมาะสม โดยในยุคแรกเมื่อบริษัทฝรั่งเจ้ามาสร้างสนามกอล์ฟ ก็จะค้นหา ท่าทรายที่สะอาด คือต้องล้างทรายให้ด้วย ขนาดก็ต้องได้ตาม เสปค คือ ส่ง ห้อง lab ทดสอบกันเลย บางเจ้า ถึงกับส่งไป ห้องแลป ต่างประเทศ แต่สมัยนี้ ท่าทรายที่ส่งทรายให้กับสนามกอล์ฟ เพื่อนำไปท็อปทรายบนกรีน มีความน่าเชื่อถือและ พยายามรักษาคุณภาพของทรายเต็มที่เพราะคนในวงการสนามกอล์ฟจะต้องสั่งทรายเพื่อมาใช้ในสนามกอล์ฟทุกเดือน อยู่แล้ว การหาทรายมาใส่บนกรีนจึงเป็นเรื่องง่ายและมั่นใจได้ว่าถูก เสปคแน่นอน ทรายที่สนามกอล์ฟส่วนใหญ่ใช้จะมาจาก จังหวัด กาญจนบุรี ซึ่งความจริงค่าทรายเป็นมูลค่าไม่มากแต่เสียค่าขนส่งสูง ท่าทราย จึงเป็นเจ้าของบริษัทขนส่งด้วย และอาจจะได้กำไรจากค่าขนส่งมากกว่าค่าทรายด้วยซ้ำ
การเตรียมพื้นที่และขุด แนววางท่อ subdrain มาตรฐานเหล่านี้ พิมพ์ใน goolgle ก็เจอ โดยจะมีรูปหน้าตัดของโครงสร้างกรีน ให้ดูและทำตามได้ง่ายๆ เช่น ขนาดท่อระบายน้ำควรจะใช้ขนาดเท่าไหร่ ขุดลึกลงไปเท่าไหร่ ชั้นแรกต้องรองด้วยกรวดแบบไหน หนาเท่าไหร่ โดยในยุคที่เราทำกรีนแรกๆ เราก็จ้างบริษัทมาทำเหมือนกัน แต่เราก็กางตำราดูไปพร้อมๆกับมืออาชีพ และเห็นว่ามันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนัก อาจจะแตกต่างกันบ้างตามประสพการ์ณของแต่ละคน แต่เมื่อ วันที่เราทำกรีนเอง การวางท่อระบายน้ำนั้นในบางจุดที่เห็นว่าน้ำอาจขังได้ง่ายเราก็สามารถเติมท่อระบายน้ำได้เต็มที่แบบเรียกว่าดีกว่า เสปค PGA เสียอีก
กรวดรองพื้น กรีน ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญและท่านนักกอล์ฟคงไม่เคยได้เห็นว่า ใต้ชั้นทรายลึกลงไปประมาณ 30 ซม. มีกรวดแม่น้ำ ขั้นอยู่ระวาง subdrain กับทราย กรวดต้องคัดขนาด และรูปร่างอย่างดีคือมีรูปร่าง มนๆ รูปถั่ว เมื่อเรียงตัวกันแล้วต้องเกิดช่องว่างให้ระบายน้ำได้ดี แต่ช่องวางต้องไม่มากเกินไปจนทรายไหลลงไปในท่อ subdrain กรวดเหล่านี้ ฝรั่งเรียกว่า pea gravel และหาซื้อได้จาก จังหวัดกาญจนบุรี อีกเช่นกัน
ชั้นสุดท้ายของโครงสร้างกรีน คือ ทรายหนา 30 ซ.ม. ซึ่งใช้ทรายตามเสปคตามที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ความลึกของทรายนั้น นอกจากจะต้องให้ลึกพอสำหรับรากหญ้าแล้วที่สำคัญอีกอย่างคือ ต้องสามารถเจาะหลุมได้ลึกเพียงพอสำหรับ ถ้วยรับเสาธง และขอบกรีน หรือ green barrier จะต้องใช้วัสดุ ที่สามารถกันความชื้นแบะน้ำจากรอบๆกรีน โดยวัสดุที่เราเลือกใช้นั้นเป็น ของไทยแต่ เทียบกันแล้ว หนากว่าของที่สั่งจากนอก และผ่านการทดสอบมาแล้วว่าคงทนไม่บุบสลาย แถมเที่ยวนี้ยังใส่ถึง 3 ชั้น เพื่อความมั่นใจอีกด้วย
การปรับภูมิทัศน์ บนกรีน และบริเวณรอบๆกรีน อันนี้เราโชคดีที่พื้นที่เดิมนั้นเป็นเนินและสวยอยู่แล้วจึงไม่ต้องปรับมาก บางครั้งการไปเปลี่ยน contour พื้นที่เดิมจะสร้างปัญหาเรื่องการระบายน้ำ การปรับพื้นที่จึงยึดหลัก สำคัญคือไม่เปลี่ยนหรือขวางทางน้ำถ้าไม่จำเป็น แต่ปรับตามพื้นที่เดิมให้มากที่สุด เราเคยออกแบบกันด้วย Autocad แต่เมื่อถึงเวลาก็ต้องมายืนมองกันที่หน้างาน และปรับแบบตามของจริง แม้แต่บริษัทฝรั่งที่ผมเคยคุยด้วยเค้าก็ยอมรับว่าบางอย่างนั้นเค้าก็ต้องทำให้มันดูมืออาชีพที่สุดแต่พอลงมือจริง ก็ต้องมายืนตากแดดชี้นิ้วเหมือนกับเราโดยแบบในกระดาษเป็นแค่ แนวทาง เรื่องของไลน์บนกรีนนั้น หากถามผู้ดูแล กรีน เค้าก็จะบอกว่าขอเรียบๆเถอะมันจะได้ตัดหญ้าง่าย แต่ในมุมผู้สร้างและนักกอล์ฟก็ไม่อยากให้มันราบเรียบเกินไปต้องมีลูกเล่นบ้าง อีกจุดนึงที่สำคัญคือ บริเวณที่สามารถเจอะหลุมได้จะต้องค่อนข้างเรียบและกว้างพอที่จะย้ายหลุมได้บ่อยๆ โดยไม่ซ้ำที่เดิมจนกรีนช้ำ และมีอย่างน้อย 3 จุด ที่สามารถเลือกได้ว่า เป็นจุดที่ท้าทายเพื่อใช้ในวันแข่ง หรือจุดที่เรียบๆง่ายๆเพื่อใช้ในวันที่นักกอล์ฟเต็มสนามและอยากให้ก๊วนติดน้อยที่สุด
เรื่องโครงสร้างของกรีนนั้นเรามั่นใจว่าดีไม่แพ้สนามระดับโลกเพราะทำตามเสปคทุกอย่าง วัสดุก็อย่างดีเหมือนสนามระดับโลก อีกทั้งทดสอบกันมาแล้วถึงขั้นเคยเอากล้องส่องเข้าไปดูในท่อระบายน้ำในขณะที่รดน้ำกรีนว่าระบายน้ำดีไหม ปรากฏว่า น้ำไหลดีมากจนกล้องพังไป 1ตัว ความสนุกของ กรีนนั้นก็ เรียกว่าใครมาตีรอบแรกนั้นต้องอยากซ้ำเพื่อแก้มือเพราะโดน สิ่งแวดล้อมรอบข้างหลอก ตาจนดูไม่ออกว่า พัตต์ขึ้นหรือพัตต์ลง
สนามเราโดยรวมอาจไม่ใช่สนามที่เนี๊ยบสุดยอด แต่บรรยากาศ ติดภูเขา ที่พัก สะดวกสบาย ตีวันแรก แล้วสังสรรค์กับเพื่อน ตอนเย็นๆ เช้ามา ออกรอบแก้มือกันอีกครั้ง ผู้ติดตามไม่ตีกอล์ฟ ก็ว่ายน้ำ ขี่จักรยานชมบรรยากาศรอบ Golf time ก็จะมาแข่งที่สนามเรา ในเดือน มีนาคมนี้ หากท่านใดสนใจเข้ามาซ้อมก่อนก็โทรเข้ามา แจ้งว่าเป็น สมาชิก หนังสือ golf time ขอราคาพิเศษได้ครับ www.hillsidecountry.com
โอ้ต อัคนิษฐ พีชผล