รู้จักไขมัน HDL และ LDL
คำว่า โคเลสเตอรอล หลายคนก็มองว่าเป็นผู้ร้ายทั้งแต่แรกได้ยิน แต่จริงๆ แล้ว โคเลสเตอรอลในร่างกายของคนเรานั้น ประกอบขึ้นจากไขมันหลายชนิด หลักๆ ก็คือ LDL Cholesterol , HDL Cholesterol และ Triglycerides ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเซลล์ในร่างกาย ร่างกายใช้คอลเลสเตอรอลในการสร้างเซลล์ใหม่ป้องกัน เส้นประสาทและผลิตฮอร์โมน คลอเลสเตอรอลในร่างกายมาจาก 2 แหล่ง คือ สร้าง จากตับ และได้จากอาหารที่รับประทาน
LDL Cholesterol มาจากคำว่า Low Density Lipoprotein ทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลทั้งหลายออกจากตับเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย หากเหลืออยู่ในกระแสเลือด ก็จะสะสมเป็นตุ่มเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด
ส่วน HDL Cholesterol มาจากคำว่า High Density Lipoprotein เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง ช่วยป้องกันไม่ให้ LDL Cholesterol สะสมในหลอดเลือดแดง
โดยปกติร่างกายจะได้รับ LDL Cholesterol มาจากอาหารจำพวก ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fat ) ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ( ยกเว้นเนื้อปลา ) รวมไปถึง ไข่ เนย ชีส ไอศกรีม นมโฮลมิลค์ เค้ก คุ้กกี้ เป็นต้น และไขมันอิ่มตัวยังได้มาจากพืชตระกูลปาล์มอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอยู่ใน อาหารจำพวกไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) ไขมันทรานส์นี้เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ( Unsaturated Fat ) อีกชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่ไขมันไม่อิ่มตัวทั่วไป ( ไม่เหมือนไขมันไม่อิ่มตัวจาก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันมะกอก ) พบได้มากในสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่น วัว ควาย แต่การนำมาใช้เป็นอาหารจะมีการแปรรูป ( ไขมันที่เป็นไข ) เพื่อที่จะเอาไปทำเนยเทียม หรือประกอบอาหารสำเร็จรูปต่างๆ เช่นครีมเทียม ขนมกรุบกรอบต่างๆ ขนมที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบด้วย
ขณะที่ HDL Cholesterol นั้นไม่มีในอาหาร ร่างกายต้องสร้างขึ้นเองจากตับและลำไส้
เมื่อภาวะไขมันในร่างกายไม่สมดุล HDL ต่ำ LDL สูง ร่างกายมีไขมันมากเกินความต้องการ หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดและสะสมเป็นตุ่มเกาะอยู่ตามผนังของหลอด ทำให้หลอดเลือดแข็ง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ นานเข้าก็จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน และส่งผลต่อการเป็นโรคความดันสูง โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย อัมพาตอัมพฤกษ์ เป็นต้น
ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นอาจไม่แสดงอาการใดๆ นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินหรือ อัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือด ในส่วนต่างๆ ตีบตัน ดังนั้น การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอล จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ถ้าพบว่าระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินไป การลดระดับคอเรสเตอรอลจะช่วยลด ความเสี่ยงใน การเกิดโรคหัวใจ ได้
ดังนั้นหากต้องการ ลดระดับ LDL และเพิ่ม HDL ก็ต้องเริ่มจากการรับประทานอาหารให้เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อย และคอเลสเตอรอลต่ำ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ไข่ขาว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารทะเล(ยกเว้นปลา) หนังสัตว์ เนย เนยแข็ง นมไม่พร่องมันเนย รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด แล้วใช้การนึ่งหรือต้มแทน ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายแบบแอโรบิคละอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3-5 วันต่อสัปดาห์ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ไปเบียดบังการทำงานของตับ และที่สำคัญงดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่ม LDL และลด HDL
โควิด-19 อาจจะทำให้หลายๆ มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวลดลง เพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารมากขึ้น ถึงเวลาที่ต้องปรับ LDL ลงและเพิ่ม HDL กันแล้วครับ