อยากให้ลูกสำเร็จในกีฬากอล์ฟ ต้องมี ความทุ่มเท
จากประสบการณ์ที่ได้อยู่กับวงการกอล์ฟไทยและของกอล์ฟโลกมามากกว่า 20 ปี เมื่อย้อนดูความสำเร็จของนักกอล์ฟชื่อดังทั้งของโลกและของไทย ทุกคนล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า “ความทุ่มเท”
ความทุ่มเท ที่ว่านี้เกิดจากสองส่วนหลักด้วยกัน
ส่วนแรก คือ ตัวนักกีฬาเอง ที่จะต้องเล่นกอล์ฟด้วยความรัก มีความอดทนต่อแดด ต่อฝน ต่อคน ต่อความผิดหวัง มีวินัยกับตัวเอง มีความกระหายอยากที่จะสำเร็จ มีเป้าหมาย มีความฝัน ขยันสุดๆ ชีวิตอยู่กับการฝึกซ้อมและแข่งขันมากกว่าอย่างอื่น เวลาโดยส่วนมากทุ่มเทไปกับกีฬากอล์ฟ
ส่วนสอง คือ ตัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่จะต้องคอยสนับสนุนตัวบุตรหลานอย่างเต็มที่ ทั้งเวลาและงบประมาณ สนับสนุนทั้งร่างกาย วงสวิง และจิตใจ ที่จะต้องสละเวลาในการพาไปซ้อม ไปเรียน ไปแข่งขัน อย่างเต็มที่ อย่างต่อเนื่อง ไม่มีคำว่าไม่มีเวลา ไม่มีคำว่าขอหยุดพักก่อน ไม่มีคำว่าเอางาน เอาเงินไว้ก่อน กีฬาทีหลัง ทุ่มเทกับการเรียนรู้ควบคู่กับลูก เรียนรู้ในสิ่งที่ช่วยพัฒนา เรียนรู้ที่จะหาโค้ชที่ดีที่สุด พร้อมที่สุด และตัดสินใจนั้นยาวนาน ไม่เปลี่ยนโค้ชบ่อย
สองส่วนนี้มีผลอย่างมากกับการพัฒนาของนักกีฬา ส่วนใดส่วนหนึ่งมีมาก แต่อีกส่วนไม่มีก็ไปไม่ได้ เหมือนขาทั้งสองข้าง ข้างใดข้างหนึ่งบาดเจ็บหรือไม่สมประกอบ ก็ไม่สามารถเดินหรือวิ่งได้เร็ว ต้องเดินหรือวิ่งในลักษณะขโยกไป สุดท้ายก็เหนื่อยล้าไม่ไหวต้องหยุดกันก่อน
การดูแลร่างกาย สวิง เป็นเรื่องของกายภาพ ไม่ยากเพราะทำแล้วเปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัด แต่เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อยู่ภายใน ยากในการวัดผล แต่มีผลอย่างมากกับการพัฒนา คำพูดของผู้ปกครองจะสามารถเป็นทั้งยาบำรุง หรือเป็นยาพิษได้โดยไม่รู้ตัว
มีเด็กๆไทยที่เก่งๆสมัยเด็ก แต่เลิกเล่นกอล์ฟตอนโตขึ้นมา ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเป็นจำนวนมาก ก็มาจากสาเหตุของผู้ปกครองที่หมดแรง ยอมแพ้ ตัดสินใจหยุดลงทุน และทยอยป้อนคำพูดที่เป็นยาพิษให้ลูกหลานของตัวเองทีละเล็กละน้อยไม่รู้ตัว จนเมื่อถึงจุดหนึ่งลูกของตัวเองหยุดเล่น
มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจที่จะสอนเอง ไม่ให้ลูกเรียนกับโปร เพราะรู้สึกว่าสิ่งที่โปรสอนตัวเองก็สอนได้ ไม่อยากลงทุน แต่ไม่เคยสังเกต หรือวัดผลว่า ลูกหลานของตัวเองพัฒนาขึ้นหรือไม่ในแต่ช่วงเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ที่ผ่านมาก พอเด็กทำไม่ได้ก็บ่น ตำหนิ ดูถูกลูกของตัวเอง เปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เอาแต่ความคิดของตัวเองเป็นหลัก ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของลูก สิ่งนี้คือสิ่งที่กล้าบอกได้เลยว่า นั่นคือ เส้นทางแห่งหายนะ เส้นทางที่มุ่งสู่เหว
“ความทุ่มเท” เหล่านี้ มีใครจะแย้งไหมครับว่า นักกีฬา คนนั้น คนนี้ที่สำเร็จ ไม่เห็นเขาทุ่มเทเท่าไรเลยก็สำเร็จได้ ลองยกตัวอย่างขึ้นมาสักคนสิครับ
มีก็ไปไม่ได้ เหมือนขาทั้งสองข้าง ข้างใดข้างหนึ่งบาดเจ็บหรือไม่สมประกอบ ก็ไม่สามารถเดินหรือวิ่งได้เร็ว ต้องเดินหรือวิ่งในลักษณะขโยกไป สุดท้ายก็เหนื่อยล้าไม่ไหวต้องหยุดกันก่อน
การดูแลร่างกาย สวิง เป็นเรื่องของกายภาพ ไม่ยากเพราะทำแล้วเปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัด แต่เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อยู่ภายใน ยากในการวัดผล แต่มีผลอย่างมากกับการพัฒนา คำพูดของผู้ปกครองจะสามารถเป็นทั้งยาบำรุง หรือเป็นยาพิษได้โดยไม่รู้ตัว
มีเด็กๆไทยที่เก่งๆสมัยเด็ก แต่เลิกเล่นกอล์ฟตอนโตขึ้นมา ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเป็นจำนวนมาก ก็มาจากสาเหตุของผู้ปกครองที่หมดแรง ยอมแพ้ ตัดสินใจหยุดลงทุน และทยอยป้อนคำพูดที่เป็นยาพิษให้ลูกหลานของตัวเองทีละเล็กละน้อยไม่รู้ตัว จนเมื่อถึงจุดหนึ่งลูกของตัวเองหยุดเล่น
มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจที่จะสอนเอง ไม่ให้ลูกเรียนกับโปร เพราะรู้สึกว่าสิ่งที่โปรสอนตัวเองก็สอนได้ ไม่อยากลงทุน แต่ไม่เคยสังเกต หรือวัดผลว่า ลูกหลานของตัวเองพัฒนาขึ้นหรือไม่ในแต่ช่วงเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ที่ผ่านมาก พอเด็กทำไม่ได้ก็บ่น ตำหนิ ดูถูกลูกของตัวเอง เปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เอาแต่ความคิดของตัวเองเป็นหลัก ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของลูก สิ่งนี้คือสิ่งที่กล้าบอกได้เลยว่า นั่นคือ เส้นทางแห่งหายนะ เส้นทางที่มุ่งสู่เหว
“ความทุ่มเท” เหล่านี้ มีใครจะแย้งไหมครับว่า นักกีฬา คนนั้น คนนี้ที่สำเร็จ ไม่เห็นเขาทุ่มเทเท่าไรเลยก็สำเร็จได้ ลองยกตัวอย่างขึ้นมาสักคนสิครับ
โปรเชาวรัตน์ เขมรัตน์