สำหรับโปรเชาว์แล้วไม่ดีจริงไม่แนะนำ : P-PAC
สำหรับโปรเชาว์แล้วไม่ดีจริงไม่แนะนำ : P-PAC
ด้วยความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว มีความเชื่ออยู่แล้วว่าคนเราเกิดมามีลักษณะเฉพาะตัว มีความถนัดเฉพาะตัว แต่ก็ถูกจัดกลุ่มเป็นลักษณะตามความถนัด 8 กลุ่ม (พหุปัญญา CR. ดร.การ์ดเนอร์)อยู่บ้างแล้ว แล้วมาได้สัมผัสระบบการศึกษาลายผิววิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาความเชื่อโยงของการทำงานของสมองและลายผิวของนิ้วคนเรา อีกทั้งได้ทราบว่ามีการศึกษา มีการวิจัยเก็บสถิติอย่างจริงจังมาสนับสนุนมากมายทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านการแพทย์ที่น่าเชื่อถือมานานกว่า 200 ปี ได้เกิดเป็นระบบ p-pac ของประเทศไทย (Panyatara Potential Analysis Centre) ด้วยการสแกนเอาลายนิ้วมือทั้งสิบของเรา และไปวิเคราะห์ผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เราทราบความเป็นตัวตนของแต่ละคน ทำให้คนในครอบครัวสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ทำให้เราเข้าใจคนอื่น ทำให้พ่อแม่เลือกที่จะสนับสนุนการพัฒนาของลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ผิดทาง ไม่เสียเวลา ยิ่งทำให้ผมรู้สึกดีและมั่นใจว่า การจะพัฒนาศักยภาพลูกของเรา รวมทั้งลูกศิษย์ที่มาเรียนกอล์ฟนั้น จะทำให้เกิดความง่ายต่อการสอน รวมทั้งการคาดหวังที่มีเป้าหมายแคบเข้ามาว่าเขาจะประสบความสำเร็จในเส้นทางของกีฬากอล์ฟหรือไม่
ส่วนของครอบครัวผม สามคนพ่อแม่ลูก ไปวัดและผลวิเคราะห์ผล พบว่าผมกับภรรยาผลออกมาตรงกับชีวิตจริงมากกว่า 90 % ส่วนของลูกสาวที่เพิ่งจะอายุ 3 ขวบกว่า มีแนวโน้มจะตรง และทำให้รู้ว่าอาชีพนักกอล์ฟกับของลูกสาวอาจจะไม่ใช่ทางของเขานัก เล่นได้ สัมเร็จได้ ถ้าเขาชอบ แต่อาจจะไม่ถึงเป้าที่ต้องการ สิ่งที่เขาถนัดจะออกไปในทางสร้างนวัตกรรมใหม่ เพราะจะคิดและทำอะไรนอกกรอบ ชอบอิสระ ไม่ชอบถูกบังคับ แต่อยู่กับสังคมได้ มันทำให้เราไม่ต้องคาดหวังกับเขา และเสียเวลาในอาชีพทางกอล์ฟมาก
ผู้ปกครองหลายคนยังมีความเข้าใจว่า การดูลายผิวของนิ้วเป็นการดูลายมือบ้าง หรือเข้าใจว่าเป็นการใช้สถิติมาทำนายผลบ้าง สรุปว่าไม่เชื่อว่าจะเป็นจริง ยังเชื่อว่าอยากให้เด็กเป็นอะไรก็พยายามให้เขาอยู่กับสิ่งนั้นมากๆ เรียนมากๆ เขาก็จะถนัดทางนั้นเอง หลายคนโตมาด้วยลักษณะนี้ คือ เป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการ แต่คนๆนั้นจะไม่มีความสุขกับงานที่ทำ ทำไปก็ไม่ใช่ศักยภาพของคนๆนั้นอย่างแท้จริง และมีบางคนถึงขนาดเปลี่ยนงานในตอนอายุมากไม่เดินทางสายที่ตัวเองเรียนมา นั่นคือเรื่องจริงมีให้พบเห็นมามากมาย
ผลการวิเคราะห์ที่ได้รับออกมา ตั้งเป็นโจทย์แล้วค่อยๆดูสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการพัฒนาของเขา ลองให้เขาได้สัมผัสหลายๆกิจกรรมแล้วดูว่าเขาทำอะไรได้ดี ทำอะไรมีความสุข ทำอะไรแล้วผลงานออกมาดี เมื่อพบแล้วสนับสนุนศักยภาพของเขาที่มีอยู่อย่างเต็มที่
คำถามของผม คือ ทำไมค้นเราจึงต้องไปเลือกอาชีพตอนโต ทำไมไม่ค้นหาว่าเด็กถนัดอะไรตั้งแต่เด็ก แล้วค่อยๆสนับสนุนเขาไปในแนวทางที่เขาถนัดอย่างเต็มที่ ไม่บังคับหรือพยายามเลือกในเส้นทางที่เด็กเขาไม่ถนัด ทำไปแล้วไม่มีความสุข
แต่ละคนที่ผลวิเคราะห์ออกมาจะถูกแทนเป็นสัญลักษณ์ของนก 5 ประเภท ได้แก่ นกอินทรี นกแก้ว นกปากห่าง นกยูง และนกกระจอกเทศ ซึ่งนกทั้ง 5 ประเภทนี้มีลักษณะไม่เหมือนกัน แล้วท่านไม่อยากรู้หรือว่า ท่านเป็นนกอะไร คนรอบตัวท่าน ลูกน้อง เป็นนกอะไร ถ้าอยากรู้โอกาสมาถึงแล้ว อย่ารอให้เวลาผ่านไป แค่ 1 วันก็ถือว่าช้าแล้วครับ
โปรเชาวรัตน์ เขมรัตน์